สภาพปัญหาระบบงานสารบรรณของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.272209คำสำคัญ:
สภาพปัญหาระบบงานสารบรรณ;, งานสารบรรณ; , แนวทางการปรับปรุงระบบงานสารบรรณบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: งานสารบรรณเป็นงานเอกสารหรือหนังสือที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเป็นหลักฐานในการบริหารงานและใช้เป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานหน่วยงานกับบุคคลและบุคคลกับบุคคลทั้งยังเป็นเสมือนเครื่องเตือนความจำของหน่วยงานและเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคตอีกทั้งช่วยให้การปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรมีระบบมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาระบบงานสารบรรณของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงระบบงานสารบรรณของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือเจ้าหน้าที่งานธุรการ จำนวน 20 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจงจากคณะที่มี การจัดการเรียนการสอนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 20 คณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: เจ้าหน้าที่งานธุรการในคณะที่มีการจัดการเรียนการสอน 20 คณะของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาระบบงานสารบรรณของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในด้านการจัดทำหนังสือราชการ อยู่ในระดับมากที่สุดและมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาระบบงานสารบรรณของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้านการทำลายหนังสือราชการอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยมีแนวทางในการปรับปรุงระบบงานสารบรรณที่สำคัญ คือ การจัดการอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานเอกสารให้เจ้าหน้าที่งานธุรการให้มีความต่อเนื่องโดยเฉพาะในระเบียบที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสำหรับงานสารบรรณเพื่อช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุปผล: ผลตอบรับจากบุคลากรฝ่ายบริหารที่ดูแลการจัดการศึกษาของ 20 คณะมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตอกย้ำความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงระบบการจัดการเอกสารของสถาบัน ข้อกังวลสูงสุดเกี่ยวข้องกับกระบวนการรวบรวมเอกสาร ซึ่งรับประกันความสนใจทันทีผ่านการฝึกอบรมพนักงานที่ตรงเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ ควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สูงขึ้น
References
คณะกรรมการพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์. (2558). คู่มือการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คนึงศรี นิลดี และธนดล ภูสีฤทธิ์. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานสารบรรณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(1), 292 -307.
จินตนาภรณ์ แสงทอง. (2558). ปัญหาในการปฏิบัติงานธุรการของพนักงานธุรการองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2. (412-422). กำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
นติยา พวงเงิน. (2561) การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น.วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 60(4), 218-223.
นภาลัย สุวรรณธนาดา. (2546). เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และรายงานการประชุม. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ.
พรนภัสส์ พราหมณ์โชติและพรชนก เกตุกัณฑร. (2558). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานธุรการของหน่วยแผน วิจัย และพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal. 2(2), 142-152.
เพ็ญศรี สุขไชยะ. (2553). ปัญหางานสารบรรณและแนวทางแก้ไข. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 5(2), 171-182.
มุกดา เชื้อวัฒนา. (2548). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานสารบรรณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2557. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 (23 กุมภาพันธ์ 2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 99 ง หน้า 14-31.
รัตนา เนื่องแก้ว. (2557). การพัฒนาระบบงานธุรการสถานวิทยาศาสตร์คลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 14(2), 206-215.
สดใส เลิศเดช. (2562). การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานธุรการและงานสารบรรณ คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 6(2), 276.
สุมาลี ถวายสินธุ์ และคณะ (2555). ปัญหาของผู้ใช้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์และแนวทางการปรับปรุง ระบบงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. จันทรเกษมสาร, 18(34), 23-32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Tharaporn Anuwet

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ