การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา

ผู้แต่ง

  • มณชญา สักกามาศ หน่วยวัดและประเมินผลการศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา https://orcid.org/0009-0007-7392-9485
  • สิริรัตน์ หิตะโกวิท ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0001-4238-3412

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272153

คำสำคัญ:

การศึกษาความสัมพันธ์; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียน การวัดและประเมินผลให้เป็นไปตามมาตรฐานสอดคล้องกับการประเมินระดับชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่าน (2) เพื่อศึกษาผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านกับผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา

ระเบียบการวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 80 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 73 คน และปีการศึกษา 2565 จำนวน 80 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และวิเคราะห์สถิติด้วยสถิติพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย: (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ปีการศึกษา 2563 - 2565 ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.336, 85.159 และ 81.762 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.947, 7.433 และ 10.051 ตามลำดับ (2) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2563 - 2565 ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.960, 88.727 และ 87.792 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.710, 11.565 และ 15.244 ตามลำดับ (3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กับผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2563 - 2565 มีความสัมพันธ์กันสูง ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.727, 0.726 และ 0.713 ตามลำดับ

สรุปผล: การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านในปี 2563-2565 มีผลดีเยี่ยม และมีความสัมพันธ์บวกทางสถิติระดับ .01 กับความสามารถด้านการอ่าน ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ ในด้านดังกล่าว

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมิน ผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4. กระทรวงศึกษาธิการ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กระทรวงศึกษาธิการ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จิตรา นาปาเลน และธนลาวัณย์ เพียรค้า. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) กับคะแนน O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายมัธยม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ. (2563). การประเมินผลการเรียนวิชาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพคุณ คุณาชีวะ และ สิริรัตน์ หิตะโกวิท. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินระดับสถานศึกษากับผลการประเมินระดับชาติ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 5(1), 99-111.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 และ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. (ม.ป.ป.). Retrieved from: https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/National_Education.pdf

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา. (2562). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา ปีการศึกษา 2562 (ฉบับทดลองใช้) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). คู่มือการจัดสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://drive.google.com/file/d/13MhHGTFFqEf0THBKf2opTia7tc-_5VRe/view?fbclid=IwAR0rIGK0Z9_0vHlLIqAvbNIy_IpA4M97I0l49P4.b

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gafoor, K.A. (2013). Types and phases of evaluation in educational practice. Introduction to Educational Measurement and Evaluation. DOI:10.13140/2.1.3801.1680

Bloom, B.S. (Ed.). (1956). Taxonomy of educational objectives: Handbook 1. The cognitive domain. Longman.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd edition. Routledge.

Ebel, R.L., & Frisbie, D.A. (1986). Essentials of educational measurement. 4th edition. Prentice-Hall.

Kerlinger, F.N. (1986). Foundations of behavioral research. 3rd edition. Holt, Rinehart, and Winston.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Sax, G. (1989). Principles of educational and psychological measurement and evaluation. 3rd Edition. Wadsworth Publishing.

Siedlecki, J. (2012). Education assessment of learning versus assessment for learning. Retrieved from: https://www.pearsonassessments.com/professional-assessments/blog-webinars/blog/2017/12/assessment-for-learning-vs--assessment-of-learning.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-12

How to Cite

สักกามาศ ม., & หิตะโกวิท ส. . (2023). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 1049–1064. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272153