การปฏิบัติงานด้านพัสดุเชิงรุกของเจ้าหน้าที่พัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272032คำสำคัญ:
การปฏิบัติงานเชิงรุก; , เจ้าหน้าที่พัสดุ; , จัดซื้อจัดจ้างบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทางด้านพัสดุ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านการบริหารพัสดุตั้งแต่การสั่งซื้อ การตรวจสอบและเลือกซื้อพัสดุที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรซึ่งการบริหารพัสดุเชิงรุกที่ดีถือเป็นการสร้างศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีให้กับองค์กร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานด้านพัสดุเชิงรุกของเจ้าหน้าที่พัสดุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานด้านพัสดุเชิงรุกของเจ้าหน้าที่พัสดุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่พัสดุของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 76 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และสถิติทดสอบ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัย: (1) การปฏิบัติงานด้านพัสดุเชิงรุกของเจ้าหน้าที่พัสดุ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานด้านพัสดุเชิงรุกของเจ้าหน้าที่พัสดุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำแนกตามเพศโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหาและอุปสรรคของการทำงานและแนวทางการปฏิบัติงานพัสดุเชิงรุกของเจ้าหน้าที่พัสดุผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่พัสดุควรให้ความสำคัญกับการบริหารเวลาในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้ทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา
สรุปผล: การวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานด้านพัสดุเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามแบ่งตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความแตกต่างทางสถิติ และไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบตามเพศ ผลวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการบริหารเวลาในการปฏิบัติงานพัสดุเพื่อป้องกันปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานทางด้านนี้
References
กองการเจ้าหน้าที่. (2563) สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Retrieved from: https://pd.msu.ac.th/pd7/stat/allstaffposition
กองคลัง กลุ่มงานพัสดุและบริหารทรัพย์สิน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานด้านพัสดุ. กรุงเทพฯ:กลุ่มงานพัสดุและบริหารทรัพย์สิน กองคลัง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
แจ่มจันทร์ วังแพน. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระคาม, 1(2), 20-34.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษา.
วรรณนิภา อุ่นคำ. (2557). ผลกระทบของการปฏิบัติงานสอบบัญชีเชิงรุกที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สมคิด บางโม. (2552) องค์กรและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สมิต สัชฌุกร. (2553) การวางแผนปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สายธาร.
สุนิสา ปิยะภาโส, เจษฎา นกน้อย และ สัญชัย ลั้งแท้กุล. (2561). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของบุคลากร: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(1), 21-45.
สุภัคพร ชะลอเลิศ. (2560). ผลกระทบของการวางแผนการปฏิบัติงานเชิงรุกที่มีต่อประสิทธิภาพ การท างานของบุคลากรด้านการบัญชี การเงินและพัสดุมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Government Supply Management. (2017). Information on Government Supplies Management, B.E. 2017. Retrieved from: http://www.finance.rmuti.ac.th/pr/cgd-2560.PDF
Lyubomirsky, S., King, L., & Diener, E. (2005). The Benefits of Frequent Positive Affect: Does Happiness Lead to Success? Psychological Bulletin, 131(6), 803–855. https://doi.org/10.1037/0033-2909.131.6.803
Seibert, S.E., Kraimer, M.L., & Liden, R.C. (2001) A Social Capital Theory of Career Success. Academy of Management Journal, 44, 219-237. http://dx.doi.org/10.2307/3069452
Wezel, W., Joma, V.R. & Meystel, A. (2006). Cognition Planning and Domains: An Empirical Study into the Planning Processes of Planners. Planning in Intelligent Systems: Aspects Motivations and Methods. 10 (1002),99 – 135.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Julairat Phadungkit

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ