การศึกษาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271992คำสำคัญ:
สมรรถนะ; , ข้าราชการ; , ปกครองจังหวัดบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากร เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำคัญรวมถึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ตลอดจนเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ด้วย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์
ระเบียบวิธีการวิจัย: กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แจกให้กับข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : สมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านการบริการที่ดี ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ตามลำดับ ผลการวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ พบว่า ควรมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ข้าราชการ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่เป็นของตนเอง รองลงมา คือ ควรจัดอบรมหรือศึกษาดูงานในสถานที่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ตามลำดับ
สรุปผล: สมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครอง จังหวัดบุรีรัมย์เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ตามลำดับ ผลวิจัยแนะนำให้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้ข้าราชการทำการปฏิบัติงานมีคู่มือการปฏิบัติงานส่วนตัวและการจัดอบรมในสถานที่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้จริง
References
ชลธิชา ทิพย์วัฒน์. (2563). การพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อก้าวไปสู่การเป็น SMART Parliament. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐดาวรรณ มณีวร. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าคลั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ทะเบียนการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. (2565). รายชื่อปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์.
ธาดา ราชกิจ. (2562). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร. Retrieved on 2 October 2020 from https://th.hrnote.asia/ orgdevelopment/190523-human-relation-organization/
ธาริณี อภัยโรจน์. (2554). การศึกษาสมรรถนะหลักเพื่อการพัฒนาบุคลากร : กรณีศึกษาสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
รัชนิดา รักกาญจนันท์. (2560). การพัฒนาบุคลากรตามกรอบสมรรถนะของข้าราชการ สายงานวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิธร จิมากรณ์. (2556). สมรรถนะหลักกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเลขานุการสำนักงานศาลยุติธรรม. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเกริก.
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทางานให้มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สฤษฏ์ ฉ่ำมะนา (2558). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ : ประชุมช่าง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก : คำอธิบาย และตัวอย่าง พฤติกรรมบ่งชี้. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
สุภาภรณ์ ประทุมชัน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรนุช กบรัตน์ เรียงดาว ทวะชาลี และ ธงชัย สิงอุดม. (2561). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคดีศาลสูงภาค 4. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 1(2), 30-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Parichat Sangwong, Thanyarat Phutthipongchaicharn, Sathapon Wichairam

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ