การพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่องคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.271983

คำสำคัญ:

การอ่านการเขียนคำควบกล้ำ, กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา, แบบฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทำให้ประกอบธุรกิจการงานและการดำรงชีวิตในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 28 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ จำนวน 9 ชุด 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง คำควบกล้ำ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3. แบบสอบถามความพึงพอใจและ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test แบบ Dependent Samples (T-Test dependent)

ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.42 / 86.96 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า เกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านการเขียนคำควบกล้ำ โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาประกอบแบบทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาประกอบแบบทักษะ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก  

สรุปผล: การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลสูงของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มตามทักษะเพื่อให้สอดคล้องภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เกินเกณฑ์ที่กำหนด การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ตามทักษะส่งผลให้ความสามารถในการอ่านและการเขียนดีขึ้นอย่างมาก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติสนับสนุน นอกจากนี้ นักเรียนยังแสดงความพึงพอใจในระดับสูงต่อแนวทางการเรียนรู้นี้ โดยเน้นย้ำถึงผลกระทบเชิงบวก

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช. 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

กัลยา พันปี. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) และรูปแบบ วัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT). สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทินทิพย์ พรไชยยา. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต (ภาษาพาที) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดการ เรียนรู้แบบซิปปา.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประสพสุข ฤทธิเดช และคณะ. (2558). ทุนทางสังคมในการพัฒนาข้าวหอมนิลปลอดภัยของ โรงเรียนชาวนาเสริมสร้างคุณภาพชีวิต. ทุนวิจัยจำกสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชำติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ประเภททุนมุ่งเป้าในการพัฒนาประเทศ โดยเร่งด่วนเรื่องข้าว.

รัดติยากร ชินกร. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบซิปปา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โรงเรียนกิตติรวี (2564). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนกิตติรวี ตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธ์: โรงเรียนกิตติรวี.

สุซาดา ขันเชื้อ. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) กับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์(2555).หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

อภิชาต ศรีสารคาม.(2553). ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-10

How to Cite

วรชัย ท. ., เมฆเมืองทอง ช. ., & นาชัยฤทธิ์ ด. . (2025). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่องคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 489–504. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.271983