บริบทการท่องเที่ยวข้ามแดน ไทย-ลาว พื้นที่ ท่าลี่-หลวงพระบาง

ผู้แต่ง

  • สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ https://orcid.org/0000-0002-3192-4236
  • ธนัญชกร ปกิตตาวิจิตร วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ https://orcid.org/0009-0002-6779-4311
  • วิพัฒน์ หมั่นการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ https://orcid.org/0009-0009-3743-8886
  • สุเชาว์ มีหนองหว้า วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ https://orcid.org/0009-0004-6762-8684

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271978

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวข้ามแดน;, การพัฒนาการท่องเที่ยว; , บริบทจัดการท่องเที่ยวข้ามแดน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ในการที่ภาครัฐในหลายประเทศให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากยังคงเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่มีโอกาสขยายตัว และนำรายได้เข้าประเทศ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พรรณนา นโยบายและแผนงานพัฒนาการท่องเที่ยวข้ามแดนไทย-ลาว พื้นที่ท่าลี่-หลวงพระบาง 2) สำรวจบริบทแหล่งท่องเที่ยวและสภาพการณ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวข้ามแดนไทย-ลาว พื้นที่ท่าลี่-หลวงพระบาง ทำการสำรวจในพื้นที่ อำเภอล่าที่-แขวงไซยะบุรี-หลวงพระบาง

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารซึ่งเป็นศึกษาแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่และสำรวจแหล่งท่องเที่ยว และประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทั้งสองพื้นที่โดย ทำการประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว การร่วมระดมความคิดเห็นประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจังหวัดเลย ในสังกัด สำนักงานยุทธศาสตร์จังหวัดเลย สำนักงานท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดเลย สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย (อพท.5) สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดเลย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย(ททท.เลย) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม สำหรับหน่วยงานใน สปป.ลาว ได้แก่ กระทรวงท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สปป.ลาว สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว สปป.ลาว และห้องการท่องเที่ยวประจำแขวงและเมือง และใช้แบบสำรวจแหล่งท่องเที่ยวตามมาตรฐานการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ผลการวิจัย: (1) ด้านนโยบายและแผนงานพัฒนาการท่องเที่ยวข้ามแดนไทย-ลาว พื้นที่ท่าลี่-หลวงพระบาง พบว่า จังหวัดเลยได้กำหนดยุทธศาสตร์ “โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษเลยเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน”และโดยมอบหมายให้องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสำนักงานเลย (อพท.5) ประสานงานวางแผนกำหนดเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในแม่น้ำโขงจังหวัดเลย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) รวมทั้งการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกันในแต่ละปี (2) สถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดเลย ในเขตอำเภอท่าลี่ ไม่ได้มีจัดการการท่องเที่ยวที่เป็นระบบ การข้ามแดนที่บริเวณด่านนากะเซ็ง อำเภอท่าลี่มีการเดินทางเข้า-ออกเพื่อค้าขาย การเข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นหลัก มีเพียงร้อยละ 0.5 ของจำนวนผู้ที่เดินทางเข้า-ออกประเทศเท่านั้นที่เป็นนักท่องเที่ยวเพื่อข้ามไปท่องเที่ยวยังแขวงหลวงพระบางที่เป็นเมืองมรดกโลกและเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยว ส่วนแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆยังไม่มีจุดเด่นพอที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้

สรุปผล: ผลการวิจัยพบว่าในพื้นที่ท่อลี่-หลวงพระบางของจังหวัดเลยมียุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและโดยมีการประสานงานกับ สปป.ลาว เน้นการเชื่อมโยงในแม่น้ำโขง แต่สถานการณ์ท่องเที่ยวในอำเภอท่าลี่ยังไม่เป็นระบบ และการข้ามแดนที่ด่านนากะเซ็งมีเพียงร้อยละ 0.5 ของผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศ โดยเน้นที่ค้าขายและการรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีเพียงหลวงพระบางที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวในฐานะเมืองมรดกโลกและจุดมุ่งหมายท่องเที่ยว

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิมพ์ที่ สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระ บรมราชูปถัมภ์

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2546). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน.กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

แผนกแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว แขวงไชยะบุรี. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่เมืองไชยะบุรี. วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว แขวงไชยะบุรี: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

พระมหาสมพงษ์ สันตจิตโต. (2560). สถิติการท่องเที่ยวใน สปป.ลาว. ปี พ.ศ. 2560. Retrieved on May 2, 2018 from: http://asc.mcu.ac.th/database/?avada_portfolio=สรุปสถิติการท่องเที่ยว

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2541). การจัดการการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันดำรงราชานุภาพ. (2543). คู่มือการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เสนอการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง.

สิริภา กิจประพฤทธิ์กุล. (2556). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศเกาหลีของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุขุมวิทย์ ไสยโสภณและจินตนา กำแพงศิริชัย. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน. รายงานวิจัยทุนเทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: เทศบาลตำบลหนองสองห้อง.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แผนกแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สปป.ลาว (2560). สถิตินักท่องเที่ยวแยกรายทวีป ประเทศ จำนวนที่พัก จำนวนห้องพัก ร้านอาหาร บริษัททัวร์ แหล่งท่องเที่ยว ในเขตหลวงพระบาง สปป.ลาว. วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สปป.ลาว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-05

How to Cite

ไสยโสภณ ส., ปกิตตาวิจิตร ธ. ., หมั่นการ ว. ., & มีหนองหว้า ส. . (2023). บริบทการท่องเที่ยวข้ามแดน ไทย-ลาว พื้นที่ ท่าลี่-หลวงพระบาง. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 839–860. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271978