ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจดำรงอาชีพของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในพื้นที่สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเขต 3 จังหวัดขอนแก่น
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271976คำสำคัญ:
เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม; , การตัดสินใจประกอบอาชีพ; , ปัจจัยที่มีผลต่อการประกอบอาชีพบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอีกอาชีพทางเลือกของเกษตรกรคนไทย และปัจจุบันนับวันจะเหลือผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ลดลง ผลกระทบจากการสื่อสารที่ไร้พรมแดน การซื้อขายยุคใหม่ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมทำให้มีผลต่อการดำรงชีพของเกษตรกรดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาวการณ์การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเขต 3 จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรต่อสภาพเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจดำรงอาชีพของกลุ่มเกษตรกรฯ
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory research กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในพื้นที่ 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม มุกดาหาร และจังหวัดขอนแก่น สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามรายชื่อผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Regression analysis)
ผลการวิจัย : เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมส่วนใหญ่ส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก โดยมีพื้นที่ถือครองไม่เกิน 5 ไร่/ครัวเรือน มักประสบปัญหาด้านน้ำในการปลูกหม่อน บางแห่งประสบความแห้งแล้งปลูกหม่อนได้ไม่เพียงพอ มีการปรับตัวด้านการรับเทคโนโลยีในด้านการผลิตไหมและการแปรรูปผลิตภัณฑ์มาใช้ในการพัฒนาผลผลิตของตนโดยอาศัยความช่วยเหลือจากภาครัฐในการถ่ายทอดองค์ความรู้ การศึกษาดูงาน การสร้างนวัตกรรมการผลิต การพยายามลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการตลาด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจดำรงอาชีพ คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะนิสัย ความรู้ความเข้าใจและการรับรู้ในอาชีพ ความมั่นคงในอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม คุณภาพชีวิต ระบบการผลิต/การจัดการระบบผลิต พื้นที่ใช้ปลูกหม่อนไหม อายุของเกษตรกรที่สูงขึ้น การมีผู้สืบทอดอาชีพ และการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ตามลำดับ
สรุปผล: เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมส่วนใหญ่ใช้แรงงานครัวเรือนหลัก, มีพื้นที่ไม่เกิน 5 ไร่/ครัวเรือน, มีปัญหาด้านน้ำและความแห้ง, พยายามปรับตัวด้วยเทคโนโลยีและรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจดำรงอาชีพมีคุณลักษณะนิสัย ความรู้ ความมั่นคงในอาชีพ คุณภาพชีวิต ระบบการผลิต พื้นที่ในการปลูก อายุ การสืบทอดอาชีพ และการร่วมกลุ่มเพื่อต่อรองทางการตลาด
References
จิระศักดิ์ เพชรมีศรี. (2557). การอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการสวนหม่อนให้ถูกหลักวิชาการและเพิ่มผลผลิต โครงการปรับโครงสร้างการผลิตหม่อนไหมอุตสาหกรรม วันที่ 3 - 5 มีนาคม 2557 ณ วัดห้วยเฮี้ย ต.ห้วยเฮี้ย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก. ศูนย์สารสนเทศหม่อนไหมและประชาสัมพันธ์ กรมหม่อนไหม.
ณรงค์ฤทธิ์ วิจิตรจันทร์. (2554) การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม : แง่คิดพิจารณาก่อนตัดสินใจเลี้ยงไหม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร.
นิชานันท์ คงทวีและ ประภัสสร เกียรติสุรนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกร ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร, 44 (4), 631-638.
พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และ ประสิทธิ์ เพ็ชรสุข. (2557). แนวทางการพัฒนาความรู้ด้านการผลิตหม่อนไหมของเกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส. แก่นเกษตร, 42 (2), 211-220.
ลำแพน สารจันทึก อำนาจ ตนัยพุฒิ พิมลรัตน์ เมธินธรังสรรค์ กนกวรรณ วรวงศ์สมคำ เบ็ญจมาศ แก้วรัตน์ พิญญ์พัชร์ ตรีฉิมพลี อาภาพร ขันตี. (2560). การศึกษารูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ และกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. รายงานวิจัยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม : กรุงเทพฯ.
วิโรจน์ แก้วเรือง. (2560). สาระน่ารู้หม่อนไหม การเลี้ยงไหมต้องปรับเมื่อโลกเปลี่ยน. Retrieved 17 May 2017 from: https://www.gotoknow.org/posts/500544.
ศิริพร บุญชู และสิทธิ ภูมิวัฒนะ. (2557). การวิเคราะห์เศรษฐกิจการส่งออกผ้าทอไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไทย. สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม. กรุงเทพฯ: กรมหม่อนไหม.
ศุภกฤต จันทรวิชญ์ พิชัย เชื้องาม เยาวลักษณ์ ทองทวี และชุมญาณัช คำวงษ์. (2560). ความต้องการได้รับการส่งเสริมของผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านในเขต จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2559. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 6 จังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2544). การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตตำราและเอกสารการสอน
ศุภวรรณ เคี่ยนเมธี, สมหญิง ชูประยูร, ชาติ ศรีแสง, มยุรี ชมพูพื้น, พิมลรัตน์ เมธินธ์รังสรรค์, ภาวิณี อาสน์สุวรรณ และอาภาพร ขันตี (2561). การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตาม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร. กรุงเทพฯ: กรมหม่อนไหม.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2561) การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ISSN 0858-0200.
Beach, D.S. (1965). Personnel: Management of People at Work. New York: The Macmillan. Co. Ltd.
Ginzberg, E. (1974). Career Guidance. New York: McGraw-Hill Co.
Hoppock, R. (1976). Occupational Information. 4th ed. New York: McGraw-Hill.
Mowday, R.T., Steers, R.M., & Porter, L.W. (1979). The measurement of organizational commitment. Journal of Vocational Behavior, 14(2), 224–247.
Tiedeman, D.V., & O'Hara, R.P. (1976). Career Development: Choice and Adjustment. Differentiation and Integration in Career Development. New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Thananchakorn Pakittawichit, Sukhumvit Saiyasopon, Wipat Mankan, Wiporn Katekao, Kasemchart Naressenie

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ