การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้แบบเน้นประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • มุทิตา หงษานาวา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0008-6047-8360
  • ภูษิต บุญทองเถิง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0006-5220-3039
  • ประสพสุข ฤทธิเดช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0001-8018-8565

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271779

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้; , แบบประสบการณ์; , ทักษะปฏิบัติ; , การวาดภาพ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการเรียนการสอนศิลปะในระดับประถมศึกษา ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ การขาดแคลนครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญด้านศิลปะ ปัญหารองลงมา คือ ขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและสื่อไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรซึ่งครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจในการผลิตสื่อ การจัดการเรียนการสอนของครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีสอนแบบบรรยายตามหนังสือทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนใจเรียนเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลกิติยา จังหวัดมหาสารคาม ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการวาดภาพระบายสี และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples)

ผลการวิจัย: 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.70/85.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีทักษะปฏิบัติวาดภาพระบายสี โดยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ แบบเน้นประสบการณ์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

สรุปผล: กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้ที่เน้นประสบการณ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด ทักษะการวาดภาพระบายสีของนักเรียนหลังเรียนมีผลสูงกว่าเกณฑ์ 80% ด้วยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้นี้ยังมีค่าสูงเหนือระดับมาตรฐาน

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศินี กี่จนา. (2558). การสร้างชุดกิจกรรมทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เจษฎากร ตันตราจิณ. (2561). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ วิชาทัศนศิลป์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชัยวัฒน์ ชุมศิริวงษ์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทัศนศิลป์กับการวาคภาพระบายสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี: พีบาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

นิตยา วงศ์ชู. (2555). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ เรื่องการวาดภาพระบายสีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 35(4), 42-49.

นุชนารถ สมวาที. (2560). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทัศนธาตุสู่การสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัญญาพร แพนดี. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เรื่อง การวาดภาพระบายสี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

มุทิตา อังคุระษี. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่องสีและการระบายสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคลองสำโรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

โรงเรียนอนุบาลกิติยา. (2562). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ปีการศึกษา 2561. มหาสารคาม: โรงเรียนอนุบาลกิติยา.

โรงเรียนอนุบาลกิติยา. (2562). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ปีการศึกษา 2561. มหาสารคาม: โรงเรียนอนุบาลกิติยา.

โรงเรียนอนุบาลกิติยา. (2563). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ปีการศึกษา 2562. มหาสารคาม: โรงเรียนอนุบาลกิติยา.

Dewey, J. (1974). John Dewey, On Education: Selected Writings Phoenix edition. University Of Chicago Press.

Efstratia, D. (2014). Experiential education through project-based learning. Procedia-Social and Behavioral Science, 152(2014), 1256-1260.

Kolb, D.A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and Development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-29

How to Cite

หงษานาวา ม. ., บุญทองเถิง ภ. ., & ฤทธิเดช ป. . (2023). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการวาดภาพด้วยเทคนิคสีไม้แบบเน้นประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 595–610. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271779