ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับครูนักนวัตกร

ผู้แต่ง

  • ทิพย์สุคนธ์ สมรูป นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://orcid.org/0009-0009-5222-4202
  • บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://orcid.org/0009-0003-8863-2108
  • วัลลภา อารีรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://orcid.org/0009-0003-8863-2108

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271573

คำสำคัญ:

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา; , ครูนักนวัตกร;, วิถีปกติใหม่

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: วิกฤตการณ์จากโคโรนาไวรัส 2019 สู่วิถีปกติใหม่ ส่งผลให้การจัดการศึกษาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบท ผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่จึงจำเป็นต้องต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาครูนักนวัตกรเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพผู้เรียน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่ 2) ระดับความเป็นครูนักนวัตกร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับครูนักนวัตกร

ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 285 คน โดยได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย: 1) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้วิถีใหม่ ตามลำดับ 2) ความเป็นครูนักนวัตกร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการมีทักษะตั้งคำถาม และด้านการมีทักษะการสังเกต และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการมีแนวคิดเชิงนวัตกรรม ตามลำดับ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับครูนักนวัตกร มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (r = 0.877) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

สรุปผล: บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดทุกด้าน โดยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้วิถีใหม่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ในทางเดียวกัน ความเป็นครูนักนวัตกรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดทุกด้าน โดยด้านการมีทักษะตั้งคำถามและการมีทักษะการสังเกตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านการมีแนวคิดเชิงนวัตกรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ทางสถิติที่มีนัยสำคัญระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับครูนักนวัตกรรมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ

References

กชพร มั่งประเสริฐ สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง และขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูยุค Thailand4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. Journal of MCU Buddhapanya Review. 7 (1),78-88.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

โกศล ภูศรี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชยพล พานิชเลิศ และเพียงแข ภูผายาง. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 6. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8 (1), 45-56.

ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2561). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. แผนกิจกรรมการศึกษาแขนงวิชาบริหารการศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล. (2564). ทิศทางการปรับตัวของการศึกษาในยุค New Normal. Retrieved on 22 September 2022 from: https://www.ets.kmutt.ac.th/post/new-normal-in-thai-education

ธีรกุล พงษ์จงมิตร และกาญจน์ เรืองมนตรี. (2563) การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (6), 229-243.

นวพร ชลารักษ์. (2564). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21The Teacher's Role and Instruction in The 21st Century. วารสารมหาวิทยาลัยวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 9 (1), 64-71.

ปิยนันต์ คล้ายจันทร์. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นนวัตกรสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (8), 236-252.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา: รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

พัชนียา ราชวงษ์ และอำนวย ทองโปร่ง. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (6), 47-65.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ. 4 (3), 783-795.

ภาวิณี รุ่มรวย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 22 (1), 210-225.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2565). คุยเรื่องทิศทางการศึกษาปี 65 กับ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. Retrieved on 15 February 2022 from: https://www.eef.or.th/article-education-direction-2565.

มลธิชา กลางณรงค์. (2562). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครู โรงเรียนเลิศหล้า สาขาถนนเกษตร-นวมินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของครูนวัตกร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). การคิดเชิงออกแบบ: ครูนวัตกรวิถีใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 10 (2), 190-199.

มารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ใน New normal. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุทธชาต นาห่อม. (2564). การบริหารสถานศึกษาบนฐานความปกติใหม่. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021" วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564

วิชัย วงศ์ใหญ่. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิทวัตร หลักคำพันธ์. (2565). สมรรถนะการบริหารจัดการในภาวะปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ. (2565). ภาวะผู้นำกับการบริหารองค์การในยุคนิวนอร์มัล. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 7(1), 123-134.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. Retrieved on 6 September 2022 from: http://www.kkn3.go.th:81/index.php/2020-06-26-07-14- 50.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (2), 193-213.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ ภาคย์. 15 (40), 33-42.

อัจฉราวดี เกิดสีทอง. (2564). Positive Leadership: ภาวะผู้นำที่จำเป็นในยุค New Normal. ใน เสาวนี สิริสุขศิลป์ (บรรณาธิการ), รวบรวมบทความทางการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัมพร พินะสา. (2565). นโยบายของ สพฐ. กับการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2565. Retrieved on 22 September 2022 from: https://www.youtube.com/watch?v=AL-yVVS3gwk.

Dyer, H.J., Gregersen, H. & Christensen, C.M. (2011). The innovator’s DNA: Mastering the five skills of disruptive innovators. Massachusetts: Harvard Business Review Press.

Furr, R., & Dyer, H.J. (2014). The Innovator's Method: Bringing the Lean Start-up into Your Organization. Massachusetts: Harvard Business Review Press.

Haelermans, C. & De Witte, K. (2011). The role of innovations in secondary school performance: Evidence from a conditional efficiency model. European Journal of Operational Research. 223 (2), 541-549.

Kieu, P. (2017). 8 Skills make a successful innovator. Retrieved on 3 October 2022 from https://sociable.co/innovation-8-skills.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Deterring sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 30 (3), 608-610.

OECD Education and Skills Today. (2021). The role of school heads and why they matter during the COVID pandemic. Retrieved 3 October 2022 from https://oecdedutoday.com/role-school-principals-heads-covid.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-27

How to Cite

สมรูป ท., เพ็ชรวิศิษฐ์ บ. ., & อารีรัตน์ ว. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับครูนักนวัตกร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 349–366. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271573