การศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271127

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางคณิตศาสตร์; , การจัดกิจกรรมการเรียนรู้; , แนวคิดของสถาบันส่งเสริมการสอนฟวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เลขยกกำลัง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) เพื่อศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารคามพิทยาคม

ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง คือห้อง 1/9 จำนวนนักเรียน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ 4 สมรรถนะ จำนวน 12 ข้อ โดยมีลักษณะเป็นแบบอัตนัย สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์งานเขียนนำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย: (1) การศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เลขยกกำลัง มีประสิทธิภาพ 70.01/70.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) การศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเรียงตามสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่เด่นของนักเรียน เรียงตามความสามารถในการใช้สมรรถนะทางคณิตศาสตร์สูงไปต่ำ คือ สมรรถนะที่ 2 การใช้คณิตศาสตร์ (Employ: E) สมรรถนะที่ 1 การคิด / แปลงปัญหา (Formulate: F) สมรรถนะที่ 3 การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning: R) สมรรถนะที่ 4 การตีความและการประเมิน (Interpret and Evacuate: I) ตามลำดับ

สรุปผล: การศึกษาพบว่ากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพในการสอนเลขยกกำลัง และการศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการสอนและสมรรถนะทางคณิตศาสตร์โดยเรียงตามลำดับของสมรรถนะที่เด่นของนักเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการ เรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กษมา เกิดประสงค์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการ PISA ประเทศไทย. (2557). ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: โครงการ PISA 2009. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). เอกสารประกอบการอบรมการประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565 จาก Math Competency IPST(1).pdf

PISA THAILAND. (2563). Pisa 2021 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์. Focus ประเด็นจาก PISA, พฤษภาคม 2563, 53.

Stacey, K., & Turner, R. (2014). Assessing Mathematical Literacy. The PISA Experience: Springer International Publishing Switzerland. https://doi.org/10.1007/978-3-319-10121-7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-26

How to Cite

พลศรี ร., & นนทภา ร. . (2023). การศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 167–182. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271127