การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS)
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271089คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้: , กระบวนการการจัดการเรียนรู้: , การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการเติบโตและประสบความสำเร็จในชีวิตท่ามกลางในสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบและกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยโดยการศึกษาเอกสารทางวิชาการ ซึ่งศึกษาเอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS) จากนั้นจะสังเคราะห์เพื่อประมวลผลสร้างแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการนำเสนอเชิงอธิบายความและสังเคราะห์เป็นแผนภาพประกอบการอธิบาย
ผลการวิจัย: 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1.1) การก้าวสู่แนวคิดสร้างสรรค์1.2) การเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา 1.3) การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STEM Creativity) 1.4) การสนับสนุนโครงการและการเรียนรู้อิสระ 1.5) การให้โจทย์ปัญหาที่น่าท้าทายและสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ 1.6) การส่งเสริมการทำงานกลุ่มและ การแลกเปลี่ยนความคิด 1.7) การสนับสนุนและพัฒนาทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์และตัดสินใจ 1.8) การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสติปัญญาและการมองเห็นอย่างเปิดกว้าง และ 2) กระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 2.1) ตระหนักถึงปัญหา 2.2) วิเคราะห์ปัญหา 2.3) คิดค้นแนวทางแก้ปัญหา 2.4) การรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหา 2.5) การทดสอบและปรับปรุง และ 2.6) การสังเกตผล การแก้ปัญหา
สรุปผล: ผลการวิจัยเน้นถึงความสำคัญของแนวทางการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ แนวทางนี้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้อย่างอิสระเท่านั้น แต่ยังรวมเอาองค์ประกอบสำคัญต่างๆ เช่น การทำงานเป็นทีมในการทำงานร่วมกัน การคิดเชิงวิเคราะห์ และการเปิดใจกว้าง กรอบการทำงานที่นำเสนอประกอบด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าประสบการณ์การเรียนรู้แบบองค์รวมและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน
References
Andriani, E. (2021). Penerapan Model Pembelajaran Creative Problem Solving (CPS) untuk Meningkatkan Hasil Belajar Siswa Kelas V/A di SDN Ambulu 01 Kabupaten Jember Tahun Pelajaran 2019/2020. PTK: Jurnal Tindakan Kelas, 2(1), 40-51. https://doi.org/10.53624/ptk.v2i1.46
Armia, A., Molle, J.S., & Tamalene, H. (2021). PENGARUH RESPONS SISWA PADA MODEL PEMBELAJARAN CREATIVE PROBLEM SOLVING (CPS)TERHADAP KEMAMPUAN PEMECAHAN MASALAH MATEMATIKA. Jurnal PEKA (Pendidikan Matematika). 5 (1), 18-26. DOI: https://doi.org/10.37150/jp.v5i1.1269
Bahr, M. W., Walker, K., Hampton, E. M., Buddle, B. S., Freeman, T., Ruschman, N., Sears, J., Mckinney, A., Miller, M., & Littlejohn, W. (2006). Creative Problem Solving for General Education Intervention Teams: A Two-Year Evaluation Study. Remedial and Special Education, 27(1), 27–41. https://doi.org/10.1177/07419325060270010401
Chaiyasit, S., & Somphong, N. (2020) Development of Creative Problem-Solving Learning Model on Intelligent Instructional Innovation System to Enhance Creative Thinking Skill of Undergraduate Students, NRRU Community Research Journal 14 (2), 148-162.
Chen, P., & Chang, C.Y. (2021). Enhancing Creative Problem-Solving in Postgraduate Courses of Education Management Using Project-Based Learning. International Journal of Higher Education. 10 (6), 11-21; DOI: https://doi.org/10.5430/ijhe.v10n6p11
Doungwilai, D. (2017). Developing learning management with local wisdom integration to improve reading and writing skills. New Trends and Issues Proceedings on Humanities and Social Sciences, 4(1), 317–322. https://doi.org/10.18844/prosoc.v4i1.2271
Fishman, L.I., Zhabin, A.P., Karsuntseva, O.V., & Grabozdin, Y.P. (2021). Managing an Organization’s Innovative Development: How to Build a Learning Organization. In: Ashmarina, S., Mantulenko, V., Vochozka, M. (eds) Engineering Economics: Decisions and Solutions from Eurasian Perspective. ENGINEERING ECONOMICS WEEK 2020. Lecture Notes in Networks and Systems, vol 139. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-53277-2_56
Gustavo Henrique Silva de Souza, Jorge Artur Peçanha de Miranda Coelho, Germano Gabriel Lima Esteves . (2020). Learning Management: An Analytical Approach for Teaching Methodologies Associated with Cognitive Skills. Learning Styles and Strategies for Management Students. 20, DOI: 10.4018/978-1-7998-2124-3.ch007
Kónya, E., & Kovács, Z., (2022). Management of Problem-Solving in a Classroom Context. Center for Educational Policy Studies Journal. 12 (1),81-101, DOI: https://doi.org/10.26529/cepsj.895
Murwaningsih, T., & Fauziah, M. (2020). The Effectiveness of Creative Problem Solving (CPS) Learning Model on Divergent Thinking Skills. International Journal of Science and Applied Science: Conference Series. 4 (1), 78-90.
Prapawong, S. (2019). Thailand’s Learning Management Development for 21st Century Students Based on Singapore’s Framework, 2019 4th Technology Innovation Management and Engineering Science International Conference (TIMES-iCON), Bangkok, Thailand, 2019, pp. 1-5, doi: 10.1109/TIMES-iCON47539.2019.9024508.
Proctor, T. (2020), "Creative problem-solving techniques, paradigm shift, and team performance", Team Performance Management, Vol. 26 No. 7/8, pp. 451-466. https://doi.org/10.1108/TPM-06-2020-0049
Pulungan, S., & Fitria, Y.. (2021). Creative Problem-Solving Model to Students’ Problem-Solving Ability in Natural Science Learning for Primary Students. Budapest International Research and Critics Institute-Journal (BIRCI-Journal) Volume 4, No. 4, November 2021, Page: 9663-9669.
Sokol, V.Y., Bronin, S.V., Karnaukh, V.E., & Bilova, M.O. (2020). DEVELOPING ADAPTIVE LEARNING MANAGEMENT APPLICATIONS FOR PROJECT TEAMS IN IT INDUSTRY. Bulletin of National Technical University "KhPI". Series: System Analysis, Control and Information Technologies, (1 (3), 97–105. https://doi.org/10.20998/2079-0023.2020.01.17
Solihin, N., Yuanita, P., & Maimunah, M. (2021). Pengembangan Perangkat Pembelajaran Matematika Berbasis Creative Problem Solving (CPS) Pada Materi Aritmatika Sosial. Jurnal Cendekia : Jurnal Pendidikan Matematika, 5(3), 2962-2974. https://doi.org/10.31004/cendekia.v5i3.924
Treffinger, D.J. (1995). Creative Problem Solving: Overview and educational implications. Educ Psychol Rev 7, 301–312 (1995). https://doi.org/10.1007/BF02213375
Treffinger, D.J. (2007). Creative Problem Solving (CPS): Powerful Tools for Managing Change and Developing Talent, Gifted and Talented International, 22 (2), 8-18, DOI: 10.1080/15332276.2007.11673491
Wang, C.W., Horng, R.Y., & Hung, S.C. (2004). The Effects of Creative Problem-Solving Training on Cognitive Processes in Managerial Problem Solving. Problems and Perspectives in Management, 2(1), https://www.businessperspectives.org/index.php/component/zoo/the-effects-of-creative-problem-solving-training-on-cognitive-processes-in-managerial-problem-solving
Wisetsat, C., & Wisetsat, W. (2020) Learning Management Guidelines to Enhance Creative Problem Solving of Pre-Service Teachers. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 13(1), 82-91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Noppakun Kunacheva

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ