มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.270994คำสำคัญ:
การคุ้มครองสิทธิ; , การสอบสวนทางวินัย; , พนักงานส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สถานการณ์ปัญหากับพนักงานของรัฐในท้องถิ่นเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวัน อีกประการหนึ่งคือการสอบสวนและลงโทษทางวินัยของพนักงานราชการส่วนท้องถิ่น มีกระบวนการดำเนินการสอบสวนทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนท้องถิ่นที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินการสอบสวนทางวินัยสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิสำหรับผู้ที่ถูกดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น (3) เพื่อเสนอแนะการพัฒนาการคุ้มครองสิทธิให้กับผู้ถูกดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งการคุ้มครองผู้ถูกดำเนินการทางวินัยย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งใด ๆ ควรได้รับการคุ้มครองสิทธิระหว่างการดำเนินการสอบสวนทางวินัย
ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความตามวัตถุประสงค์การศึกษา
ผลการศึกษา: ปัจจุบันการพิจารณาในการสอบสวนข้อเท็จจริงไปจนถึงการลงโทษทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น ยังไม่ปรากฎแนวทางที่ชัดเจนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่แสดงออกถึงการให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น หลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนพร้อมทั้งการสำสืบอ้างอิงพยานหลักฐานต่าง ๆ เช่น พยานเอกสาร พยานบุคคลและพยานวัตถุ ที่นำมาประกอบเป็นหลักฐานในการดำเนินทางวินัยก่อนมีการตัดสินลงโทษทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง ในระหว่างที่ถูกดำเนินการสอบสวนทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิกเฉยต่อปัญหานี้ก็จะเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาการทำงานและแรงจูงใจหรือขวัญกำลังใจของพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งประสิทธิภาพของการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบข้อเสนอแนะการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกล่าวหาในการสอบสวนทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น คือ มีการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิของพนักงานส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา เป็นการปกป้องสิทธิโดยตรงและให้คำแนะนำหลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการสอบสวนทางวินัยของผู้ถูกลงโทษทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการลงโทษทางวินัย รวมไปถึงการออกมาตรการทางกฎหมายสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่จะปกป้องสิทธิของผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยของพนักงานในพื้นที่ จะต้องมีโครงสร้างแยกต่างหากที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานผู้ถูกลงโทษทางวินัย หรือหน่วยงานอื่นที่มีส่วนได้เสียในกระบวนการดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น อาจจัดทำกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อสนับสนุนหรือมอบอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือองค์กรที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยได้
สรุปผล: การวิจัยระบุว่าในการสอบสวนทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีแนวทางชัดเจนที่แสดงถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกดำเนินการทางวินัย การแสดงความไม่เคารพต่อสิทธิและประสิทธิภาพของการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่มีโครงสร้างที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการปกป้องสิทธิของผู้ถูกลงโทษทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่นอาจมีผลกระทบที่เช็คในการพัฒนาการทำงานและแรงจูงใจของพนักงาน แนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกลงโทษทางวินัยที่เสนอแนะคือการตั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิและให้คำแนะนำในกระบวนการสอบสวน รวมถึงการออกมาตรการทางกฎหมายสำหรับหน่วยงานที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกลงโทษทางวินัย.
References
กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2551). กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ :วิญญูชน.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.
ดารารัตน์ อุปลา. (2563). ปัญหาการดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่านท้องถิ่น. การค้นคว้าอิสระนักศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก.กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
นรรถพล แสงขา. (2558). คู่มือปฏิบัติงานการดำเนินการทางวินัยบุคลากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวีณ ณ นคร. (2533). คู่มือการรักษาวินัยข้าราชการสำหรับผู้บังคับบัญชา. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.
สำนักมาตรฐานวินัย, สำนักงาน ก.พ. (2553). คู่มือการดำเนินการทำงวินัย.กรุงเทพฯ: สำนักงาน เลขาธิการสำนักงาน ก.พ.
อุดม รัฐอมฤต และคณะ. (2545). การปฏิรูประบบวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Wisanu Bakal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ