การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • รัชฏพร มีชัย นักศึกษาสาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0000-1522-024X
  • สมาน เอกพิมพ์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0004-2884-8713

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.270920

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้; , แนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติ; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งการพัฒนากิจกรรมเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดด้านอื่น ๆ ที่สูงขึ้น สามารถตัดสินใจ แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องผู้วิจัยจึงสนใจในการทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (2) เพื่อออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผล มากกว่าร้อยละ 50 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีสุขพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t–test (Dependent Samples)

ผลการวิจัย: (1) การศึกษาผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีแนวคิดพื้นฐานของกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบมีขั้นตอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเร้าความสนใจ 2) ขั้นสะท้อนคิด 3) การปฏิบัติ 4) ขั้นอภิปรายข้อมูล 5) การสรุป และ 6) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ผลการประเมินมีคุณภาพของการจัดกิจกรรมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีคุณภาพของการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70- 5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน (2) การออกแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า 2.1) ค่าประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 85.02/81.22 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 2.2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าเท่ากับ .6331 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติโดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก

สรุปผล: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่พัฒนาผ่านวิธีทางพุทธศาสนาและแผนที่แนวคิดมีกระบวนการที่มีโครงสร้าง 6 ขั้นตอน ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความเหมาะสมในการสอน ประสิทธิผลของการออกแบบแสดงให้เห็นได้จากประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การก้าวข้ามเกณฑ์ความสำเร็จ และปรับปรุงผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ความพึงพอใจของนักเรียนในระดับสูงยังตอกย้ำถึงความสำเร็จของกิจกรรมเหล่านี้ในการส่งเสริมความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้น

References

พระทนง ชยาภรโณ (วงคสายะ) (2554). การเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยศิลปากร.

เยาวนาตร อินทร์สาเภา. (2552). ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน): มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนศรีสุขพิทยาคม. (2563). ข้อมูลโรงเรียน. มหาสารคาม : โรงเรียนศรีสุขพิทยาคม.

วรรณภา โคตรพันธ์. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม การเขียนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

สมพงษ์ ฤทธิแผลง. (2553). ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนของโรงเรียนสังกัดอำเภอพญาเม็งราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. การศึกษาอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 20 วิธีจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อุทัย วรเมธีศรีสกุล และคณะ. (2561). พุทธวิธีการเรียนการสอน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 71-81.

Novak, J. D., & Cañas, A. J. (2008). The theory underlying concept maps and how to construct and use them. Technical Report IHMC Cmap Tools 2006-01 Rev 01-2008, Florida Institute for Human and Machine Cognition.

Zenner, C., Herrnleben-Kurz, S., & Walach, H. (2014). Mindfulness-based interventions in schools—A systematic review and meta-analysis. Frontiers in Psychology, 5, 603.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22

How to Cite

มีชัย ร. ., & เอกพิมพ์ ส. . (2024). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธวิธีร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(1), 185–198. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.270920