ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.270620คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต; , ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรในวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ผลจากการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยจึงอาจเกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงกว่าในหลายประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเริ่มออกมาตรการรับมือ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมหาสรคาม จำนวน 393 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติตพรรณน t-test และ F-test
ผลการวิจัย: (1) คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ ตามลำดับ (2) ผลเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจำแนกตามเพศพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนการจำแนกตามอายุพบว่าโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองมหาสารคาม ดังนี้ (1) ส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมทางกาย (2) ส่งเสริมการเรียนรู้และกิจกรรมทางสังคม (3) ส่งเสริมการเข้าร่วมชุมชน (4) การให้บริการดูแลสุขภาพ (5) ส่งเสริมการทำงานอาชีพหรือกิจกรรมอาสา (6) การให้ความรู้เกี่ยวกับการเงินและการวางแผนการเงินในชีวิตหลังเกษียณ (7) การสนับสนุนครอบครัวและผู้ดูแล (8) การสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง และ (9) การจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุในวันเทศบาล
สรุปผล: คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีความแตกต่างทางค่าเฉลี่ยในด้านสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ทางสังคม ร่างกาย และจิตใจ การเปรียบเทียบตามเพศและอายุพบว่ามีความแตกต่างทางสถิติที่มีนัยสำคัญ และมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองมหาสารคามทั้งด้านสุขภาพ การเรียนรู้ การเข้าร่วมชุมชน การดูแลสุขภาพ การทำงาน การวางแผนการเงิน การสนับสนุนครอบครัว การทำงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง และการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). สังคมสูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
กรมอนามัย. (2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
โกศล สอดส่อง. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 6 (1), 162-175.
จิราพร ไชยเชนทร์. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 13 (1), 204-215.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2561. ความท้าทายของภาวะสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. Retrieved on June 21, 2021, from: https://www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx
ธาริน สุขอนันต์, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, ทัศนันท์ ทุมมานนท์ม & ปิยรัตน์ จิตรภักดี. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 240-249
นวรัตน์ ปัญจธนทรัพย์. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาตนเองในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
ปลื้มใจ ไพจิตร. (2558).คุณภาพในการดำ รงชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Management Sciences. 2 (2), 157-179.
ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6 (1), 122-134.
ภียริน ฮุง และอภิสิทธิ์ พลแสน. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ บ้านหนองหญ้าปล้องตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัลครั้งที่ 5. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560 - พ.ศ.2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Flanagan, J. C. (1978). A research approach to improving our quality of life. American Psychologist, 33(2), 138–147. https://doi.org/10.1037/0003-066X.33.2.138
Padilla, G. V., & Grant, M. M. (1985). Quality of life as a cancer nursing outcome variable. Advances in Nursing Science, 8(1), 45–60. https://doi.org/10.1097/00012272-198510000-00007
Sharma, R.C. (1988). The Meaning of Quality of Life. In R.C. Sharma, editor. Population, Resource, Environment, and Quality of Life. New Delhi: Dhanpat Rai and Sons
Stromberg, M. F. (1984). Selection and instrument to measure quality of life. Oncology Nursing Forum. 11(5), 88-91
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. 3rd edition. New York: Harper And Row Publication.
Zhan, L. (1992). Quality of life: conceptual and measurement issues. JAN Leading Global Nursing Research. 17 (7), 795-800. https://doi.org/10.1111/j.1365-2648.1992.tb02000.x
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Onsuda Tantayanont, Danwichai Sairuksa

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ