เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาการขยายตัวชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำชี จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เลิศฤทธิ์ ตั้งชูวงษ งานบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://orcid.org/0000-0003-0103-3683
  • ฉัตร พยุงวิวัฒนกูล คณะวิทยาศาสตรและศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน https://orcid.org/0000-0003-4092-0947
  • วิชุดา ตั้งชูวงษ งานบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://orcid.org/0000-0003-0103-3683

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.276

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ; , การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน; , การขยายตัวชุมชน

บทคัดย่อ

จังหวัดชัยภูมิเป็นพื้นที่ต้นแม่น้ำชีในพื้นที่อำเภอหนองบัวแดงและลำน้ำสาขาอีกหลายสาย อย่างไรก็ตามจากการศึกษานำร่องยังพบว่าปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งแวดล้อมหลายประการที่สำคัญ กล่าวคือ ยังขาดแผนการและมาตรการเกี่ยวกับการใช้ที่ดินที่เหมาะสมต่อการบริหารลุ่มน้ำ ในการวางแผนการพัฒนาเพื่อให้สอดรับกับปรากฏการณ์ สภาพปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงพื้นที่เข้ามาประกอบการตัดสินใจ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือ Geo Informatics Technology เพื่อประโยชน์ต่อการใช้ประโยชน์ของที่ดิน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการขยายตัวชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำชี จังหวัดชัยภูมิ จากข้อมูลดาวเทียม 2 ช่วงเวลา คือ ปี พ.ศ.2555 และปี พ.ศ.2565 ทำการจำแนกข้อมูลดาวเทียมจากการรับรู้จากระยะไกล และใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยระบบสารเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินหาพื้นที่ที่มีมีการเปลี่ยนแปลงของ แหล่งน้ำ/ที่ลุ่ม ชุมชน ป่า แผ้วถาง/เสื่อมโทรม และพื้นที่เกษตรกรรม วิเคราะห์หาการขยายตัวชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำชี จังหวัดชัยภูมิ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปี พ.ศ. 2555 โดยแยกเป็นแหล่งน้ำ/ที่ลุ่ม จำนวน 1,034,240 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.69 ชุมชน จำนวน 4,028,020 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.69 ป่า จำนวน 100,073,240 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 66.68 ที่แผ้วถาง/เสื่อมโทรม จำนวน 20,815,606 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.87 และพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 24,131,984 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.07 (2) ปี พ.ศ. 2565 โดยแยกเป็นแหล่งน้ำ/ที่ลุ่ม จำนวน 1,621,500 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.09 ชุมชน จำนวน 6,971,400 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 4.64 ป่า จำนวน 79,003,620 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 52.64 ที่แผ้วถาง/เสื่อมโทรม จำนวน 40,423,880 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 26.93 และพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 24,131,984 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 14.70 (3) ผลการเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ลุ่มน้ำชี จังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2555 กับ ปี พ.ศ. 2565 พบว่า แหล่งน้ำ/ที่ลุ่มเพิ่มขึ้นจำนวน 587,260 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 36.21 ของพื้นที่ทั้งหมด ชุมชนเพิ่มขึ้นจำนวน 2,943,380 ตารางเมตร คิดเป็น ร้อยละ 42.22 ของพื้นที่ทั้งหมด ป่าลดลงจำนวน 21,069,620 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 21.05 ของพื้นที่ทั้งหมด ที่แผ้วถาง/เสื่อมโทรม เพิ่มขึ้นจำนวน 19,608,274 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 48.50 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่เกษตรกรรมลดลงจำนวน 2,069,294 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.57 ของพื้นที่ทั้งหมด

References

จิตรภณ สุนทร. (2561). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินใน เขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 82-95.

เจริญวิชญ์ หาญแก้ว. (ม.ป.ป.) ชีวิตและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

ดวงเดือน พรมขันธ์. (2564). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิสารสนเทศ. Retrieved on July 20, 2023 from: http://r04.ldd.go.th/homer04/images/knowledge64-2/m1-p3.pdf

ทบทอง ชั้นเจริญ. (2566). ความรู้เบื้องต้นภูมิสารสนเทศ. Retrieved on July 20, 2023 from: http://www.tobthong.rbru.ac.th/wp-content/uploads/2021/07/GI_01_INTRO.pdf.

วสันต์ ออวัฒนา(2555). การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต.ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.

วิกิพีเดีย. (2566). แม่น้ำชี. Retrieved on July 20, 2023, from: http://www. //th.wikipedia.org/wiki.

สมพร สง่าวงศ์. (2552). การสำรวจระยะไกลในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งปกคลุมและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักจัดการที่ดินป่าไม้. (2566). ภูมิสารสนเทศศาสตร์. Retrieved on July 20, 2023 from: https://web1.forest.go.th/forest/kml/manual/Geoinformatics.pdf.

อุราวรรณ จันทร์เกษ. (2561). การวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซทหลายช่วงเวลาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณผืนป่าภูเขียว-น้ำหนาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศมิศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16

How to Cite

ตั้งชูวงษ เ. ., พยุงวิวัฒนกูล ฉ. ., & ตั้งชูวงษ ว. . (2023). เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาการขยายตัวชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำชี จังหวัดชัยภูมิ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 717–728. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.276