การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง

ผู้แต่ง

  • นิสรา บุญลอยสงค์ นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-4092-5634
  • เนตรชนก จันทร์สว่าง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0003-0674-692X

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.262

คำสำคัญ:

แผนผังกราฟิกการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก; , สมรรถนะในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้กระบวนการทำงานกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ในการจัดการเรียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกก่อนและหลังเรียน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมายการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมเป็น 15 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้รูปแบบการสอนของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จำนวน 5 แผน ใช้เวลาในการสอน 15 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เป็นแบบอัตนัย 1 สถานการณ์ จำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) เท่ากับ 0.26-0.68 ค่าอำนาจจำแนก (r) เท่ากับ 0.24-0.76 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ (One Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง มีคุณภาพอยู่ระหว่าง 4.51-4.56 ( = 0.50-0.68) อยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก มีสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) นักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

นภัสวรรณ ศรีทรงเมือง ดวงเดือน สุวรรณจินดา และทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ (2021). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุคันธาราม (สุคันธวิทยาคาร) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Valaya Alongkorn Review, 11(3), 86-103.

ปาริชาต ผาสุข. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแบบ DEEPER scaffolding framework. ปริญญานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิชาภา ด้วงสงค์ และ ถาดทอง ปานศุภวัชร. (2565). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องสารรอบตัว โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 19(2), 165-177.

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ศศิวิมล ภูศรีโสม และกัญญารัตน์ โคจร. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับหลักการ การเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 265-282.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). ประกาศผลสอบ O-NET. Retrieved October 15, 2019 from: http://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุดารัตน์ สันจรรัตน์ และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 160-175.

สุฟิตรี ฮินนะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Griffin, C.C., Malone, L.D., & Kameenui, E.J. (2010). Effects of graphic organizer instruction on high-grade students. Journal of Educational Research, 89(2), 98-107.

Klopfer, L.E. (1971). Evaluation of Learning in Science. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw–Hill Book Company,574 – 580.

OECD. (2017). PISA 2015 COLLABORATIVE PROBLEM-SOLVING FRAMEWORK. Paris: OECD.

Stull, A. T., & Mayer, R. E. (2007). Learning by doing versus learning by viewing: Three experimental comparisons of learner-generated versus author-provided graphic organizers. Journal of Educational Psychology, 99(4), 808–820. https://doi.org/10.1037/0022-0663.99.4.808

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-13

How to Cite

บุญลอยสงค์ น. ., & จันทร์สว่าง เ. . (2023). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 447–464. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.262