หลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547

ผู้แต่ง

  • อัตนัย สายรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น https://orcid.org/0009-0000-8895-2855
  • อัจฉรา เลิศพรประสพโชค นักวิชาการอิสระ https://orcid.org/0009-0005-2157-6599
  • มนตรี นุ่มนาม อาจารย์ผู้บรรยายหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิติรัฐกิจและการบริหาร https://orcid.org/0009-0006-3630-3283
  • ธรรมศักดิ์ เสนามิตร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://orcid.org/0009-0001-6647-9275

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.270419

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล; , การใช้อำนาจ; , กรมสอบสวนคดีพิเศษ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษโดยดำเนินการแก่คดีที่มีความผิดทางอาญา รวมถึงหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามคดีอาญาที่มีผลกระทบต่อประชาชน ระบบเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนั้น พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ได้ให้อำนาจแก่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ผ่านทางบุคคล 4 กลุ่ม ประกอบด้วย คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ และคณะกรรมการพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (กพศ.) ในการปฏิบัติหน้าที่ที่แตกต่างกัน  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาวการณ์แห่งปัญหาและผลกระทบการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ศึกษาและวิจัย หลักการ แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลระหว่างประเทศ ต่างประเทศและของประเทศไทย ศึกษาและวิเคราะห์อำนาจและการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547  ศึกษาและวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และเพื่อกำหนดหลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547

ระเบียบวิธีการวิจัย: แหล่งข้อมูลการวิจัยมีวิทยาการวิจัยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ ร่วมออกแบบ

ผลการวิจัย: หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยหลักธรรมาภิบาล มี 7 หลัก คือ หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักคุณธรรม (Morality) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักความคุ้มค่า(Economy) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักภาระความรับผิดชอบ (Accountability) และหลักความเป็นธรรมและความเสมอภาค (Equity) การใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรม เป็นการใช้อำนาจรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนโดยตรง รวมถึงต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจนั้นตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีปรากฏการณ์เป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการเผยแพร่ทางสื่อมวลชนว่ามีหลายกรณีที่ประชาชนเกิดความสงสัยถึงการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ถูกต้องเป็นธรรม และอยู่บนหลักนิติธรรมหรือไม่ การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนด้วยการให้คำตอบต่อประชาชนทำอยู่บนพื้นฐานของอำนาจใด และได้ทำโดยครบถ้วนถูกต้องและโดยโปร่งใสและตรวจสอบได้หรือไม่ การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานได้กระทำลงโดยยึดหลักความเสมอภาคและเป็นธรรมหรือไม่ ในทางตรงกันข้าม ประชาชนย่อมมีความคาดหวังว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ว่าต้องเป็นไปโดยสอดคล้องและปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในด้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจนั้น ๆ เช่น หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักภาระรับผิดชอบ และหลักความเป็นธรรมและเสมอภาค ดังนั้น การกำหนดหลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 จะเป็นการผลักดันให้มีการนำเอาหลักธรรมาภิบาลไปกำหนดเป็นกฎหมายไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษต่อไป ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มีบทบัญญัติว่าด้วยหลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งเท่ากับว่าประชาชนไม่มีหลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญไม่ว่าในฐานะประชาชนที่อาจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือในฐานะประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ว่าเจ้าพนักงานได้ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้อำนาจถูกต้องและสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลซึ่งเป็นหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

สรุปผล: การกำหนดหลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ที่ได้จากการวิจัยนี้ จะนำไปสู่การเป็นหลักธรรมาภิบาลต้นแบบเพื่อให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งมีอำนาจในการกำกับดูและตรวจสอบการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ นำไปใช้เป็นต้นแบบในการแก้ไข ปรับปรุงและนำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อออกเป็นกฎหมายเพื่อให้มีสภาพบังคับสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรม สร้างมาตรฐานการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ เพื่อยกระดับสู่การเป็นองค์กรสืบสวนสอบสวน ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงและคดีพิเศษให้ทัดเทียมกับองค์กรระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม สร้างความมั่นคงให้กับสังคมและรัฐในที่สุด

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2556). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ไชยวัฒน์ ค้ำชูและคณะ. ผู้แปล. (2545). ธรรมาภิบาล : การบริหารการปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.

ไทยพับลิก้า กล้าพูดความจริง. (2560). ศาลวินิจฉัยการตายคดี “ธวัชชัย อนุกูล” อดีตเจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัดพังงา ระบุ “มีผู้อื่นทำให้เสียชีวิตในขณะถูกควบคุม. Retrieved October 11, 2022, from: https://www.thaipublica.org.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2542). หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาล (good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

พนารัตน์ มาศฉมาดล. (2564) ธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, กรุงเทพ: สถาบันพระปกเกล้า

พัชรี สิโรรส และคณะ. (2561) ธรรมาภิบาล: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย . กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: อินทภาษ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2561). “ธรรมาภิบาล”. Retrieved October 11, 2022, from http:// www.tdri.or.th.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561). ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบทางสังคม . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22

How to Cite

สายรัตน์ อ. ., เลิศพรประสพโชค อ. ., นุ่มนาม ม. ., & เสนามิตร ธ. . (2023). หลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 93–112. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.270419