การเปรียบเทียบความสามารถด้านความคล่องแคล่วว่องไวระหว่างนักกีฬาฟุตซอลกับนักกีฬาฟุตบอล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.253คำสำคัญ:
ความสามารถทางด้านความความคล่องแคล่วว่องไว; , ทดสอบแบบตัว S; , ทดสอบแบบตัว Zบทคัดย่อ
สมรรถภาพด้านความคล่องแคล่วว่องไวมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาทุกชนิดโดยเฉพาะกีฬาฟุตซอลและฟุตบอลเพราะนักกีฬาฟุตซอลกับนักกีฬาฟุตบอลซึ่งต้องใช้ความสามารถด้านความคล่องแคล่วว่องไวในการหลบหลีกทีมฝั่งตรงข้าม หรือเลี้ยงลูกฟุตบอลและเปรียบเทียบเนื่องจากเป็นกีฬาที่คล้ายคลึงกัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทดสอบสมรรถภาพด้านความคล่องแคล่วว่องไวแบบเป็นตัว S และ Z ของนักฟุตซอลกับนักฟุตบอลของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพด้านความคล่องแคล่วว่องไวแบบเป็นตัว S และ Z ของนักฟุตซอลกับนักฟุตบอลของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ระหว่างนักฟุตซอลกับนักฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักกีฬาฟุตซอลและนักกีฬาฟุตบอลคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็นนักกีฬาฟุตซอล 15 คนและนักกีฬาฟุตบอล 15 คน ที่มีช่วงอายุระหว่าง 18 – 24 ปี และมีประสบการณ์ในการเล่นกีฬามาเป็นระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว ซึ่งใช้การแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวแบบตัว S และ Z โดยจะทำการทดสอบอย่างละ 5 รอบ โดยนำทั้ง 5 รอบ มาวิเคราะห์หาข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและนำมาเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ Independent ผลวิจัย พบว่า นักกีฬาทั้งหมดจำนวน 30 คน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 10.30 (± 0.19) วินาที อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งพบว่านักกีฬาคนที่ 2 ใช้เวลาในการทดสอบแบบตัว S ได้ดีที่สุดอยู่ที่ 9.19 (± 0.18) วินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และ นักกีฬาคนที่ 13 ใช้เวลาในการทดสอบแบบตัว S ได้แย่ที่สุดอยู่ที่ 11.09 (± 0.10) วินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และในการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวแบบเป็นตัว Z ผลการวิจัย พบว่า นักกีฬาจำนวน 30 คน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 9.55 (± 0.18) วินาที อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซี่งพบว่านักกีฬาคนที่ 29 ใช้เวลาในการทดสอบแบบตัว Z ได้ดีที่สุดอยู่ที่ 8.21 (±0.07) วินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และ นักกีฬาคนที่ 23 ใช้เวลาในการทดสอบแบบตัว Z ได้แย่ที่สุดอยู่ที่ 10.86 (± 0.07) วินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำ นอกจากนั้นยังพบว่า ในการเปรียบเทียบความสามารถทางด้านความคล่องแคล่วว่องไวระหว่างนักกีฬาฟุตซอลกับนักกีฬาฟุตบอลโดยแบ่งเป็นนักฟุตซอล 15 คนกับนักฟุตบอล 15 คน พบว่าจากผลการทดสอบสมรรถภาพด้านความคล่องแคล่วว่องไวแบบเป็นตัว S ซึ่งค่าเฉลี่ยรวมของนักกีฬาฟุตซอลใช้เวลาในการทดสอบ 10.05 วินาที ส่วนนักกีฬาฟุตบอลใช้เวลาในการทดสอบ 10.54 วินาที ทำให้ทราบว่านักฟุตซอลมีความคล่องแคล่วว่องไวมากกว่านักฟุตบอล เปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ Independent และพบว่า ในแบบทดสอบตัว S นักกีฬาฟุตซอลกับนักกีฬาฟุตบอลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ .05 และ จากผลการทดสอบสมรรถภาพด้านความคล่องแคล่วว่องไวแบบเป็นตัว Z ซึ่งค่าเฉลี่ยรวมของนักกีฬาฟุตซอลใช้เวลาในการทดสอบ 9.40 วินาที ส่วนนักกีฬาฟุตบอลใช้เวลาในการทดสอบ 9.70 วินาที ทำให้ทราบว่านักฟุตซอลมีความคล่องแคล่วว่องไวมากกว่านักฟุตบอล เปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ Independent และพบว่าในแบบทดสอบตัว Z นักกีฬาฟุตซอลกับนักกีฬาฟุตบอลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ .05
References
เสาวลักษณ์ ศิริปัญญา. (2550). ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนักกับการเคลื่อนที่ลักษณะแรงระเบิดที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในนักกีฬาเซปักตะกร้อหญิงทีมชาติไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑาวัฒน์ กำลังทวี. (2560). ผลของการฝึก เอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาแบดมินตัน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา); บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และกันยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4: กรุงเทพฯ
นิพนธ์ กิติกุล. (2525). หลักการเล่นฟุตบอลสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร,
พชรพล บุญเรือน (2562). การศึกษาผลการฝึกการวิ่งรูปแบบตัว Z และตัว S ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอล. (ปริญญานิพนธ์. กศ.ม. (พลศึกษา)), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัทรดล เพชรพลอยนิล. (2560). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและ ความเร็วของนักกีฬาฟุตบอลชาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สุขศึกษาและพลศึกษา): มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิศาล ไหมวิจิตร. (2549). ผลการฝึกวิ่งรูปแบบตัว Z และตัว S ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว ของนักกีฬาฟุตซอลหญิง. ปริญญานิพนธ์วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา). บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศิลปชัย สุวรรณธาดา. (2548). การเรียนรู้ ทักษะการเคลื่อนไหว ทฤษฎีและปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักวิชา วิทยาศาสตร์การกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุขสวัสดิ์ชนะพาล. (2550). ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อ ความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอล อายุ 12-14 ปี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ม.ป.ท
อุดม จอกรบ. (2545). ผลของการฝึกความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อความแม่นยำในการเตะลูกฟุตบอล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Carter V. Good. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Thawatchai Kaithongsuk, Parnrada Pacharasitangoon, Thawatchai Kanchanathaweekul, Yutphichai Chanlekha

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ