แนวทางการนำผลประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารงานด้านวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.257คำสำคัญ:
การใช้ผลการประเมินมาตรฐาน, , การบริหารงานด้านวิชาการ, , การพัฒนาคุณภาพบทคัดย่อ
การประเมินมาตรฐานช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และความเชื่อมั่นของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการและผลจากการประเมินที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการวางแผนหรือปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการของหน่วยงานระดับนโยบายจึงมีความจำเป็นในการใช้ผลการประเมินเป็นสารสนเทศสำคัญเพื่อการวางนโยบาย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาสภาพการนำผลประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารงานด้านวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (2) พัฒนาแนวทางการนำผลประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารงานด้านวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ (3) ตรวจสอบคุณภาพของแนวทางทางการนำผลประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารงานด้านวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มเป้าหมายโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ใช้แนวทาง คือ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 121 คน และ (2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการนำผลประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารงานด้านวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน 5 ด้าน โดยประยุกต์วงจรคุณภาพ PDCA มีการดำเนินการทุกด้านรวมร้อยละ 96.67 (2) แนวทางการนำผลประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารงานด้านวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) หลักการประเมินแบบมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ (Utilization – Focused Evaluation) (2.2) วัตถุประสงค์ (2.3) กระบวนการใช้ผล โดยประยุกต์วงจรคุณภาพ PDCA การวางแผนการใช้ผลประเมิน (Plan) การใช้ผลประเมิน (Do) การประเมินคุณภาพการใช้ผลประเมิน (Check) การปรับปรุงคุณภาพการใช้ผลประเมิน (Action) (2.4) ผู้ดำเนินการและบทบาท (2.5) เงื่อนไขและข้อจำกัด และ (3) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแนวทางการนำผลประเมินมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารงานด้านวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
จำรัส นองมาก. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษาอย่างถูกต้องและมีความสุข. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์ เซ็นเตอร์
โชดก ปัญญาวรานันท์. (2556). การพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดรุณี รัตนสุนทร, อินทร์ จันทร์เจริญ, และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2560). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อการบริหาร การศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวักเชียงราย.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ),10 (2), 365-378.
ธนวิน ณ น่าน. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
รัตนะ บัวสนธ์ (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤกษ์รัตน์ ปักกันต์ธร. (2556). การประเมินโดยมุ่งเน้นผู้ใช้ประโยชน์: กรอบแนวคิดและแนวทาง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 8(2), 31- 42.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2562). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). รายงานผลการติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: เอ็น เอ รัตนะเทรดดิ้ง.
Alkin, M. C. (1985). A guide for evaluation decision-makers. Beverly Hills, CA: Sage.
Alkin, M. C., Daillak, R., & White, P. (1979). Using evaluations: Does evaluation make a difference? (Vol. 76). Sage Library of Social Research. Beverly Hills, CA: Sage
Beyer, J. M., & Trice, H. M. (1982). The Utilization Process: A Conceptual Framework and Synthesis of Empirical Findings. Administrative Science Quarterly, 27(4), 591-622.
Cousins, J. B., & Leithwood, K. A. (1986). Current empirical research on evaluation utilization. Review of Educational Research, 56(3), 331-364. https://doi.org/10.2307/1170319
Deming, E. W. (1986). Out of the crisis. Cambridge, UK: Massachusetts Institute of Technology Press.
Deming, W.E. (1950). Elementary Principles of the Statistical Control of Quality. JUSE.
Greene, M. (1988). The dialectic of freedom. New York: Teachers. College Press
Johnson, B.J. (1998). Toward a theoretical model of evaluation utilization. Evaluation and Program Planning, 21, 93-110.
O.E. Owen, E. Kavle, R.S. Owen, M. Polansky, S. Caprio, M.A. Mozzoli, Z.V. Kendrick, M.C. Bushman, G. Boden. (1986). A reappraisal of caloric requirements in healthy women. The American Journal of Clinical Nutrition, 44, 1–19. https://doi.org/10.1093/ajcn/44.1.1
Patton, M. Q. (2008). Utilization-Focused Evaluation (4th.). London: Sage Publication.
Patton, M. Q. (2012). Essentials of utilization-focused evaluation. Thousand Oaks, Calif: Sage Publication.
Preskill, H., & Caracelli, V. (2003). Current and Developing Concepts of Use: Evaluation Use TIG
Scriven, M. (1981). Evaluation Thesaurus. 3rd edition. CA: Edgepress Inverness.
Stufflebeam D. L., Zhang G. (2017). The CIPP evaluation model: How to evaluate for improvement and accountability. New York, NY: Guilford.
Weiss, R.L. (1980). Strategic Behavioral Marital Therapy: Toward a Model for Assessment and Intervention, Vol. 1. In: Vincent, J.P., Ed., Advances in Family Intervention, Assessment and Theory, JAI Press, Greenwich, 229-271.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Sireetorn Waiprib, Taviga Tungprapa , Ong-art Naiyapatana

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ