การสร้างแบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.255คำสำคัญ:
ความพร้อมในการทำงาน; , นักศึกษาอาชีวศึกษา; , แบบวัดความพร้อมบทคัดย่อ
ความพร้อมในการทำงาน คือ ขีดความสามารถหรือศักยภาพของนักศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ที่จะทำงานหรือปฏิบัติงานในอนาคตได้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย การที่จะระบุว่า นักศึกษามีความพร้อมในการทำงานมากน้อยเพียงใด และมีความพร้อมอยู่ในระดับใด จำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อใช้ในวัดและประเมินความพร้อมในการทำงานของนักศึกษา ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดระยอง จำนวน 1,145 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา ซึ่งวัดองค์ประกอบ 4 ด้าน ตามแนวคิดของ Caballero ประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร ความสามารถในการทำงาน และความฉลาดทางสังคม การวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย ความตรงเชิงเนื้อหาพิจารณาจากค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ความตรงเชิงทฤษฎีโดยวิธีการเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มที่ทราบด้วยสถิติทดสอบ Independent sample t-test และความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 และรายองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.896-0.981 ด้วยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค การสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนใช้คะแนนทีปกติ และแบ่งระดับตามแนวคิดของ Clark-Carter ผลการวิจัยพบว่า ด้านความตรงเชิงทฤษฎีโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มที่ทราบ มีหลักฐานสนับสนุนว่าแบบวัดความพร้อมในการทำงานมีความตรงเชิงทฤษฎี (t=-4.831,p=0.000) และผลการสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนน แบบวัดมีคะแนนทีปกติตั้งแต่ T16.72 ถึง T74.81 (P0.05 – P99.34) โดยความพร้อมในการทำงานระดับสูงมีคะแนนทีปกติตั้งแต่ T56.78ขึ้นไป ความพร้อมในการทำงานระดับค่อนข้างสูงมีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T50.23 ถึง T56.44 ความพร้อมในการทำงานระดับค่อนข้างต่ำ มีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T43.57 ถึง T49.93 และความพร้อมในการทำงานระดับต่ำมีคะแนนทีปกติน้อยกว่า T43.57
References
ชาญณรงค์ ลักษณียนาวิน. (2558). การพัฒนาโลกเสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นของนักศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
ปิยะธิดา วรญาโณปกรณ์. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
มนัญญา หาญอาสา. (2560). การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชพล กลัดชื่น และจรัญ แสนราช. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกทักษะวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(1), 47-55.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556) ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. (2565). ข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ปีการศึกษา 2565 สถานศึกษารัฐ และเอกชน รายสถานศึกษาจำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน. Retrieved from: https://techno.vec.go.th
สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2553). สถิติข้อมูลการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Retrieved from: http://techno.vec.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สุกัญญา พรน้อย. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์:แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Caballero, C. L., Walker, A., & Fuller-Tyszkiewicz, M. (2011). The Work Readiness Scale (WRS): Developing a measure to assess work readiness in college graduates. Journal of Teaching and Learning for Graduate Employability, 2(1), 41-54.
Clark‐Carter, D. (2005). Percentiles. Encyclopedia of statistics in behavioral science.
Irwansyah, M. R., Meitriana, M. A., & Suwena, K. R. (2020). Student Work Readiness in Vocational High School. In 5th International Conference on Tourism, Economics, Accounting, Management and Social Science (TEAMS 2020) (pp. 285-290). Atlantis Press.
Ridho, A., & Siswanti, A. D. (2020). Future perspective and work readiness on students. Journal psikologi, 19(2), 201-211.10.14710/jp.19.2.201-210.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row: New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Marisa Paenmeon, Panida Panidvadtana, Kamaontip Srihaset

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ