การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.243คำสำคัญ:
การตัดสินใจ; , สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์; , มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีบทคัดย่อ
การศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเป็นทางเลือกที่มีความสำคัญในการสร้างโอกาสและพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ แต่การจะเลือกสถาบันอุดมศึกษา สาขาวิชาที่เหมาะสมกับความสนใจและความถนัดของตนเอง ควรมีการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาให้สอดคล้องกับความคาดหวังของตนเอง โดยแนวคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ด้านสถานที่ตั้ง ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านหลักสูตร และด้านความคาดหวังกับการมีงาน ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และ 2) เปรียบเทียบระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา และรายได้เฉลี่ยของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาคปกติ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 92 คน โดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F- Test, One – Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความคาดหวังกับการมีงานทำ อยู่ในระดับมากที่สุด และอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตร ด้านสถานที่ตั้ง ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 2) เปรียบเทียบระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ โดยจำแนกตาม เพศ ภูมิลำเนา และรายได้เฉลี่ยครอบครัว แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สำนักงานที่ประชุมอธิการบดี.
ชุตินันนท์ เจียมจิระเศรษฐ์. (2561). การตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา, กฎหมาย, ประกาศ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 54 -77.
พิชญาภา โสรัตน์, นพดล อำนวยพรเลิศ และกนกวรรธน์ เซี่ยงเจ็น. (2565). ความเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการ ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565. วารสารศิลป ศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 4(3), 499 – 511.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (2565). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต. ลพบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร บัณฑิต สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(2), 53-62.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
วันวิสา ชมภูวิเศษ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัด มหาสารคาม. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช และคณะ. (2554). หลักการตลาด Principle of Marketing. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น.
สุไบชะ จำนงลักษณ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 -610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Thatchapon Teedee, Juthamard Pansamai, Chalida Sanwised

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ