การศึกษาความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด

ผู้แต่ง

  • พิสิทธา กาชัย สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0002-7461-5537
  • ทรงชัย อักษรคิด สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0005-2520-8638
  • ชานนท์ จันทรา สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0006-0559-1278
  • สกล ตั้งเก้าสกุล สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0000-1922-8740

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.252

คำสำคัญ:

วิธีการแบบเปิด; , ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์;, สื่อใหม่

บทคัดย่อ

ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์เป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
แต่จากผลการประเมิน PISA ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD สะท้อนว่าการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทางของวิธีการแบบเปิด และแบบวัดความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ฐานนิยมและร้อยละ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ตามพฤติกรรมหรือแนวคิดในการแก้ปัญหาที่แสดงถึงความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า จำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 34.09 และระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 31.82 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด โดยภายใต้ปัญหาในบริบทของชีวิตจริงนักเรียนมีการใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ที่ต่อเนื่องกัน เช่น นักเรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงแทนแผนที่จังหวัดปทุมธานีด้วยรูปหลายเหลี่ยมชนิดต่าง ๆ ประกอบกัน ให้มีความใกล้เคียงกับภาพแผนที่ที่กำหนดให้เพื่อให้การคำนวนพื้นที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับสูตรการหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยมมาใช้หาพื้นที่โดยประมาณของจังหวัดปทุมธานีได้ถูกต้อง ขณะที่นักเรียนเพียงส่วนน้อยสามารถปรับวิธีการหาพื้นที่ให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยลง โดยมีการแสดงแทนด้วยรูปหลายเหลี่ยมชนิดอื่น ๆ

References

เกวลี มาหา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เจนสมุทร แสงพันธ์ และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2560). การประเมินสภาวะความเป็นปัญหาของนักเรียนในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบ. The 22nd Annual Meeting in Mathematics (AMM 2017) Department of Mathematics, Faculty of Science Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand (AMM 2017). 22, 1-15.

ชัยยศ จระเทศ. (2558). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวาปีปทุม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์. (2563). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีแบบเปิด (Open Approach), กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม. Journal of EducationKhon Kaen University. 32 (4), 76-80.

นิรัญชลา ทับพุ่ม และ วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2564). การส่งเสริมทักษะการอภิปรายโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เรื่องความคล้ายของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Arts Management. 5 (3), 1-83.

ประภัสสร เพรชสุ่ม. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์. 15 (1), 80-87.

รุ่งทิวา บุญมาโดน. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). 2563. PISA กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์. FOCUS ประเด็นจาก PISA. (10 มิถุนายน 2563), 1.

สุลัดดา ลอยฟ้า และ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การพัฒนาวิชาชีพครูแนวใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์. KKU JOURNAL OF MATHEMATICS EDUCATION. 1 (1), 18-28.

Becker, J.P., & Shimada, S. (1997). The Open-Ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.

Inprasitha, M. (2010). One feature of adaptive lesson study in Thailand –Designing learning units. Proceedings of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education. Dongkook University: Gyeongju, 193-206.

Jamil, A., & Khusna, A. (2020). A Worksheet Characterized by Open-Ended Approach to Support Student’s Mathematical Literacy. Mathematics Education Department, University of Muhammadiyah Malang.

Nohda, N. (2000). Teaching by Open-Approach Method in Japanese Mathematics Classroom. In Nakahara, T., Koyama, M. (eds.) Proceedings of the Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME). 24 (1), 39–53.

OECD. (2018). PISA 2022 MATHEMATICS FRAMEWORK (DRAFT). Retrieved October 20, 2022, from: https://pisa2022-maths.oecd.org/files/PISA%202022%20Mathematics%20Framework%20Draft.pdf.

Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton, NJ: Princeton University.

Shimizu, Y. (1999). Aspects of mathematics teacher education in Japan: Focusing on teachers’ roles. Journal of Mathematics Teacher Education. 2 (1), 107-116.

Smith, M. S., & Stein, M. K. (2011). 5 practices for orchestrating productive mathematics discussions. Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-11

How to Cite

กาชัย พ. ., อักษรคิด ท. ., จันทรา ช. ., & ตั้งเก้าสกุล ส. . (2023). การศึกษาความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 255–270. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.252