การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์

ผู้แต่ง

  • พรรณิภา ฟองจันทร์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0004-1225-2413
  • ทรงชัย อักษรคิด สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0005-2520-8638
  • ต้องตา สมใจเพ็ง สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0005-4630-2009

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.259

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์; , ความสามารถในการแก้ปัญหา; , โจทย์ปัญหาร้อยละ

บทคัดย่อ

หนึ่งในมาตรการเพื่อการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ภายใต้สถานการณ์ภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุขนั้น ได้แก่ วิธีการเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นการเว้นระยะห่างในการ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำงานและการศึกษา โดยในส่วนของการศึกษาที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ มีการปรับเป็นรูปแบบการสอนออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมในระดับประถมศึกษาให้มีทักษะความสามารถในการแก้ปัญหา การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 33 คน โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test (One sample t-test) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนา และส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหน่วยศึกษานิเทศก์. Retrieved January 15, 2021, from: http://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). Retrieved January 15, 2021, from: http://www.obec.go.th/archives/255396.

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2561). ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วารสารครูศาสตร์, 47(2), 18-30.

ญาณกวี ขัดสีทะลี. (2557). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเคดับเบิ้ลยูดีแอลเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มัณฑนา พรมรักษ์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแก้ปัญหาที่เน้นกระบวนการการกำกับทางปัญญาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิชัย ภูดี. (2563). การสอนคณิตศาสตร์ในยุคดิจิทัล: วิธีการและเครื่องมือ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 3(2), 190-199.

สิทธิชัย สระตอมูฮัมหมัด. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย [รายงานผลการวิจัย]. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการวิจัยพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561.

สิริพร ทิพย์คง. (2536). การแก้ปัญหาเอกสารคำสอนวิชา 158522: ทฤษฎีและวิธีการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร ภาควิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baldwin J, & Williams, H. (1988). Active Learning: a Trainer's Guide. England: Blackwell Education. Retrieved January 15, 2021, from: https://cft.vanderbilt.edu/active-learning/.

Polya, G. (1973). How to solve it: A new aspect of mathematical method. 2nd edition. Princeton, New Jersey: Princeton University Press.

Polya, G. (1985). How to Solve It. A New Aspect of Mathematical Method. 2nd edition. New Jersey: Princeton University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12

How to Cite

ฟองจันทร์ พ. ., อักษรคิด ท. ., & สมใจเพ็ง ต. . (2023). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 375–388. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.259