ผลการจัดกิจกรรมเต้นรำพื้นเมืองที่มีต่อเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัย
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.237คำสำคัญ:
เต้นรำพื้นเมือง; , เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม; , เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ในปัจจุบันเด็กมีความนิยมวัฒนธรรมต่างชาติ ทั้งอาหาร การแต่งกาย ภาษา เพลง ท่าทางการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เกิดการเลียนแบบดารา นักร้องต่างชาติ จนวัฒนธรรมเหล่านี้มีอิทธิพลส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดำเนินชีวิตของเด็ก ทำให้เด็กบางคนไม่กล้าแสดงออกถึงความชื่นชมในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน ผู้วิจัยเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้เด็กมีความตระหนักทางวัฒนธรรมของตนเองที่เด็กควรจะมีความรู้ ความเข้าใจและรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของท้องถิ่นอ่างทองที่อยากจะอนุรักษ์ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของจังหวัดอ่างทอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเต้นรำพื้นเมืองที่มีต่อเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กอายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง จำนวน 25 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเต้นรำพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย 24 แผน และแบบประเมินเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเต้นรำพื้นเมืองมีคะแนนเฉลี่ยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมหลังจากได้รับการจัดจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเต้นรำพื้นเมือง เด็กสามารถบอกได้ว่าอาชีพชาวนาเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนในท้องถิ่น กลองยาวในจังหวัดอ่างทองของตนเองมีชื่อเสียงและยาวที่สุดในโลก มีการนำไม้ประจำท้องถิ่นมาสานเป็นเครื่องจักรสานเกิดเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่สร้างอาชีพและชื่อเสียงให้กับท้องถิ่น เด็กรู้สึกดีใจและตื่นเต้นที่ได้เต้นรำพื้นเมืองในท้องถิ่นของตนเอง ชื่นชมอุปกรณ์ประกอบการเต้นรำที่ทำจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นได้แก่ กลองยาว เครื่องจักสาน
References
กาญจนา แก้วเทพ, (2552), การสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องการใช้และการเสริมความเข้มแข็งแก่การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
โกวิทย์ ขันธศิร. (2527). สื่อการสอนดนตรีและนาฎศิลป์ในสื่อการสอนระดับประถมศึกษา. เล่ม 1 หน่วยที่ 8 สาขาศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยวัฒน์ บวรวัฒนเศรษฐ์. (2559). ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎี การเสริมต่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 3(2), 154-179.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2554). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุษฎี บริพัตร. (2520). กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย: ดนตรีและการเคลื่อนไหว. หลักสูตรประถมศึกษา 2521: ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพ: สารมวลชน.
นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). การสร้างสรรค์งานการออกแบบลีลาของผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์สำหรับการแสดงมหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหาชนกและวิจิตรนาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหาชนก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2552). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น:การศึกษาวิจัยและการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เรณู โกศินานนท์. (2545). นาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท ไทยวัฒนพานิช จำกัด ,พิมพ์ครั้งที่ 2 เลขาธิการ.
วนิดา ตรีสวัสดิ์. (2555). วัดมอญจังหวัดราชบุรี : การจัดภูมิทัศน์ และความหมายของอัตลักษณ์ชุมชน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 30(2), 2-28.
วารุณี สกุลภารักษ์. (2562). ดนตรีและกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. 63(3), 205-208.
สุนทรียา ศรีวรขันธ์, รณิดา เชยชุ่ม, และ สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์. (2559). การพัฒนาจริยธรรม ด้านความซื่อสัตย์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การเล่านิทานต่อเนื่องประกอบหุ่น. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย, 12(1), 67-73.
Egorov, M., Zakharova, G., Olesova, S., Neustroeva, A., & Yakovleva, A. (2019). Folk dance is a means of preserving and transmitting the ethnocultural traditions of the Sakha people at school. Advances in Social Science, Education, and Humanities Research, 374, 276–280. DOI: https://doi.org/10.2991/mplg-ia-19.2019.53
MURASHKO, M.P. Classification of Russian dance. M.: MSIC
Oliver, P. (1989). Handed down architecture: tradition and transmission. Dwellings, settlements, and tradition: cross-cultural perspectives. J.-P. Bourdier and N. AlSayyad. Lanham; London; Berkeley, California, University Press of America: International Association for the Study of Traditional Environments, 53-72.
Oliver, P. (1997). Encyclopedia of vernacular architecture of the world. Cambridge: Cambridge University Press.
Vygotsky. L. S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Kazım, B. (2016). The Effects of Folk Dance Training on 5-6 Years Children’s Physical and Social Development. Journal of Education and Training Studies. 4(11), 213-226.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Natcha Suksamran , Chalatip Samahito, Piyanan Piyanan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ