ความรู้ กิจกรรมทางกาย และพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพที่มีต่อภาวะโภชนาการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.288

คำสำคัญ:

ความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ; , กิจกรรมทางกาย; , การบริโภคอาหารสุขภาพ; , ภาวะโภชนาการ; , สื่อใหม่

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลกระทบผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการดำเนินชีวิต เนื่องจากนโยบายควบคุมการแพร่ระบาดทำให้เกิดชีวิตวิถีใหม่ในมิติต่าง ๆ เช่น การเรียน การทำงาน การปฏิสัมพันธ์ของผู้คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพที่มีต่อภาวะโภชนาการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหงภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากผู้ร่วมวิจัยจำนวน 566 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78.4 ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพอยู่ในระดับสูง (M= 8.35, SD= 1.61) พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพได้คะแนนเฉลี่ยค่อนข้างมาก (M= 3.42, SD=.55) พลังงานจากกิจกรรมทางกายของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเฉลี่ย 704.991 กิโลแคลอรีต่อวัน ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายเท่ากับ 20.25 (SD=4.28) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงเอวเท่ากับ 75.180 เซนติเมตร (SD=13.03) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และภาวะโภชนาการ พบว่ามีเพียงกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับเส้นรอบวงเอวและดัชนีมวลกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .32 และ .37 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์อำนาจในการทำนายของความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพ และกิจกรรมทางกายที่มีต่อภาวะโภชนาการ พบว่าตัวแปรกิจกรรมทางกายสามารถทำนายความผันแปรของดัชนีมวลกายได้ร้อยละ 13.8 และตัวแปรพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพ และกิจกรรมทางกายสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรของเส้นรอบวงเอวได้ร้อยละ 11.4

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19. Retrieved November 18, 2020 from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/141000/.

งานนโยบายและแผน สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). ตารางแสดงจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนเรียน ส่วนกลาง ประจำภาค 1 ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามคณะ สาขาวิชา และปีที่เข้าศึกษา สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Retrieved November 18, 2020 from: http://www.regis.ru.ac.th/document/Stat/20201029_FM17D6Regis163.pdf.

จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์ และสมจิต พฤกษะริตานนท์. (2563). โรคโควิด-19. บูรพาเวชสาร. 7 (1), 89-95.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์, และโชติ บดีรัฐ. (2563). "New Normal" วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4 (3), 371-386.

ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค : อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. Panyapiwat Journal. 5 (2), 255-264.

ปิยาพร สินธุโคตร, คณาลักษณ์ ดลเสมอ, สุนทรี มอญทวี, กรุณา วงษ์เทียนหลาย และนพวรรณ เปียชื่อ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมสุขภาพ กับภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี. 46(2), 336 – 354.

มัณฑินา จ่าภา. (2557). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของ นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 6(2), 144-157.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร, ศิรินุช ชมโท และคณะ. (2556). คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

ศิรดา กลิ่นชื่น, พัชราณี ภวัตกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. (2558). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยมุสลิมที่เป็นกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา. 38 (129), 31-47. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60640.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). หุ่นดี สุขภาพดีง่าย ๆ แค่ใช้ 4 พฤติกรรม. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563 จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/files/HLworkingage.pdf.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). เมนูอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับทุกช่วงวัยในช่วง covid-19 ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด.

อมรรัตน์ นธะสนธ์, นพวรรณ เปียซื่อ และไพลิน พิณทอง. (2560). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการในชุมชนกึ่งชนบทจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร Rama Nurs, 23(3), 344 – 357.

Ainsworth, B.E., Haskell, W.L., Whitt, M.C., Irwin, M.L., Swartz, A.M., Strath, S.J., ... & Leon, A.S. (2000). Compendium of physical activities: an update of activity codes and MET intensities. Medicine and science in sports and exercise, 32(9), S498-S504.

Aksoy, N.C., Kabadayi, E.T., & Alan, A.K. (2021). An unintended consequence of COVID-19: Healthy nutrition. Appetite, 166 (1), 105430. https://doi.org/10.1016/j.appet.2021.105430

Arlinghaus, K.R., & Johnston, C.A. (2018). Advocating for behavior change with education. American journal of lifestyle medicine, 12 (2), 113-116.

Bouchard, C., Tremblay, A., Leblanc, C., Lortie, G., Savard, R., & Theriault, G. (1983). A method to assess energy expenditure in children and adults. The American journal of clinical nutrition, 37(3), 461-467.

Cárdenas Fuentes, G., Bawaked, R. A., Martínez González, M. Á., Corella, D., Subirana Cachinero, I., Salas-Salvadó, J., & Schröder, H. (2018). Association of physical activity with body mass index, waist circumference and incidence of obesity in older adults. European journal of public health, 28(5), 944-950.

Filimonau, V., Beer, S., & Ermolaev, V. A. (2021). The Covid-19 pandemic and food consumption at home and away: An exploratory study of English households. Socio-Economic Planning Sciences, 82, 101125. DOI: 10.1016/j.seps.2021.101125

Katewongsa, P., Widyastari, D. A., Saonuam, P., Haemathulin, N., & Wongsingha, N. (2021). The effects of the COVID-19 pandemic on the physical activity of the Thai population: evidence from Thailand's Surveillance on Physical Activity 2020. Journal of sport and health science, 10(3), 341-348. https://doi.org/10.1016/j.jshs.2020.10.001

Kelly, M. P., & Barker, M. (2016). Why is changing health-related behavior so difficult? Public Health, 136, 109-116.

Maher, J.P., Hevel, D.J., Reifsteck, E.J., & Drollette, E.S. (2021). Physical activity is positively associated with college student's positive affect regardless of stressful life events during the COVID-19 pandemic. Psychology of sport and exercise, 52, 101826.

Parsons, T.J., Manor, O., & Power, C. (2006). Physical activity and change in body mass index from adolescence to mid-adulthood in the 1958 British cohort. International Journal of Epidemiology, 35(1), 197-204.

Staiano, A.E., Reeder, B.A., Elliott, S., Joffres, M.R., Pahwa, P., Kirkland, S.A., & Katzmarzyk, P.T. (2012). Physical activity level, waist circumference, and mortality. Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism, 37(5), 1008-1013.

Weiers, R. M. (2010). Introduction to Business Statistics. Cengage Learning.

World Health Organization. (2021). Healthy At Home - Physical activity. Retrieved 19 March 2021, from https://www.who.int/news-room/campaigns/connecting-the-world-to-combat-coronavirus/healthyathome/healthyathome---physical-activity.

World Health Organization. (2021). Nutrition advice for adults during the COVID-19 outbreak. Retrieved 19 March 2021, from http://www.emro.who.int/nutrition/nutrition-infocus/nutrition- advice-for-adults-during-the-covid-19-outbreak.html.

You, H.W., Tan, P.L., & AF, M.L. (2020). The Relationship between Physical Activity, Body Mass Index, and Body Composition among Students at a Pre-University Centre in Malaysia. IIUM Medical Journal Malaysia, 19(2), 83-89, DOI: https://doi.org/10.31436/imjm.v19i2.1567

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

รัตนศิริ เ. (2023). ความรู้ กิจกรรมทางกาย และพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพที่มีต่อภาวะโภชนาการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 899–918. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.288