การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.216

คำสำคัญ:

วิสัยทัศน์; , จินตนาการ; , ยืดหยุ่น

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าในสถานศึกษาแห่งหนึ่งอาจมีผู้นำได้หลายคนที่แสดงบทบาทการใช้ภาวะผู้นำในลักษณะต่าง ๆ มากมาย บทบาทภาวะผู้นำจึงมิได้จำเพาะเจาะจงอยู่ที่ผู้บริหารเท่านั้น ทว่าหน้าที่ของผู้บริหาร คือ การสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ครู อาจารย์ และ บุคลากรต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้บุคคลดังกล่าวได้พัฒนาตนเองเข้าสู่การเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ประกอบด้วย 3 โมดูล ได้แก่ โมดูล 1 การมีวิสัยทัศน์ โมดูล 2 การมีความยืดหยุ่น โมดูล 3 การมีจินตนาการ     กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 300 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมีความยืดหยุ่น และ ด้านการมีจินตนาการ (2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่า ผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.

บุณรดา ทรงบุญศาสตร์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

พัชรา วาณิชวศิล. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ : จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนา ปะกิคา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนา การศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2551). การประยุกต์ใช้ Log Frame เพื่อออกแบบโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา สู่กรอบแนวคิดเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 3-18.

สมคิด บางโม. (2554). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

สังคม กุลสุวรรณ. (2557). พฤติกรรมผู้นำมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุเทพ พงศศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2559). ผลึกความรู้ชุดงานวิจัยฉบับเคี้ยวง่าย Re-Learning จากเรียนรู้สู่เรียนคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สุมิตรา พงศธร. (2550). สรุปเรื่องของหลักสูตร. สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 2(79), 15-23.

อรชร กิตติชนม์ธวัช. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุ่นตา นพคุณ. (2548). กรอบแนวคิดการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.

Ash, Ruth C., & Persall, M., (2007). The Principle as Chief Learning Officer: The New Work of Formative Leadership. Birmingham: Stamford University Birmingham.

Basadur, M. (2008). Leading Others to Think Innovatively Together: Creative Leadership. Journal of The Leadership Quarterly, 15(1), 103-210.

Caffarella, R. (2002). “Planning: Programs for Adult Learners: A Practical Guide for Educations” Trainers and Staff Developers. San Francisco : Jossey-Bass.

Carolyn, B., & et al. (2013). How to Develop a Training Program on the Job. Retrieved on 16 June 2021 from: http://www.wikihow.com/Develop-a-TrainingProgram-on-the-Jop/.

Fink, A.G. (2015). Evaluation Fundamentals: Insights into Program Effectiveness, Quality, and Value. 3rd edition. California: SAGE.

Funnell, S.C., & Rogers, P.J. (2011). Purposeful Program Theory: Effective Use of Theories of Change and Logic Models. San Francisco : Jossey-Bass.

Knowles, M. D. (1980). The Modem Practice of Adult Education from Pedaeow to Andragogy. New York: The Adult Education Company.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Lombardo, M. M., & Eichinger, R. W. (1996). The Career Architect Development Planner. Minneapolis: Lominger.

McDavid, J.C., Huse, I., & Hawthorn, L.R.L. (2013). Program Evaluation and Performance Measurement: an Introduction to Practice. 2nd edition. California: SAGE.

Zhang, Q., (2016). Creative Leadership Strategies for Primary School Principals/Teachers Creativity/Guangxi, China. Ph.D. Thesis, Educational Administration, Chulalongkorn University.

Styles, M. H. (1990). Effective Models of Systematic Program Planning. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09

How to Cite

ฟองนวล ณ., & น้อยฤทธิ์ ส. . (2023). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(4), 721–736. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.216