ความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.198คำสำคัญ:
ความรู้; , เจตคติ; , การมีส่วนร่วมของประชาชน; , การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบทคัดย่อ
ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการพัฒนาประเทศ จำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปก็ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปี หลายพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาขยะมูลฝอยสะสมที่มีจำนวนมากจนไม่สามารถกำจัดขยะได้ทันกับปริมาณที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนครัวเรือนในชุมชนในเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน จำนวน 354 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, F-test และ Pearson’s Correlation ผลการวิจัย พบว่า (1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน อยู่ในระดับสูง ระดับเจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน โดยรวมอยู่ในระดับดี และระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน ในภาพรวม อยู่ในปานกลาง (2) ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคลองด่านที่มีอายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีพฤติกรรมการส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคลองด่านที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกัน (3) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย และเจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กล่าวคือ เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.522) ส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน อยู่ในระดับต่ำ (r = 0.164) ตามลำดับ
References
กัญชพร เสนุภัย. (2563). ปัจจัยพฤติกรรมการลดและแยกขยะที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะของพนักงานบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพ ฯ: วิญญูชน.
จังหวัดสมุทรปราการ. (2561). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2561 จังหวัดสมุทรปราการ. Retrieved on November 10, 2022 from: http://dn.core-website.com/public/dispatch_upload/backend/core_dispatch_164615_2.pdf
จังหวัดสมุทรปราการ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). Retrieved on November 10, 2022 from: https://www.samutprakan.go.th/
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชาวลิต อยู่เกิด, วิจิตรา ศรีสอน และ ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืน: กรณีศึกษารูปแบบ การจัดการขยะชุมชนตลาดสดแฮปปี้แลนด์ใหม่ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4 (2), 712-726.
ฐิตินันท์ เทียบศรี. (2564). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ และอาภากร มินวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12 (3), 5-14.
ทรงศักดิ์ วลัยใจ. (2564). กระบวนการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ (2556). การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกัน การติดเชื้อ เอช ไอ วี / เอดส์ ของคนประจำเรือไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 8 (2), 84-102.
เทศบาลตำบลคลองด่าน. (2565). ข้อมูลสภาพทั่วไป. Retrieved on 16 มีนาคม 2566 from: https://www.klongdanmunicipality.go.th/public/list/data/index/menu/1144
เทศบาลตำบลคลองด่าน. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570) ของเทศบาลตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ: งานวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลตำบลคลองด่าน.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีระพงค์ ช่วยธานี. (2563). การติดตามและประเมินผลการจัดการขยะมูลฝอย โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านมหาโพธิ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 12 (1), 37-49.
นฤนาท ยืนยง และพิชชานาถ เงินดีเจริญ. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12 (2), 279-297.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระมหานิพันธ์ ปริปุณฺโณ (เชียงกา). (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะของชุมชน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 4 (1), 135-150.
ภณิตา อทินวงศ์. (2565). ความรู้ เจตคติและประสบการณ์ของผู้ปกครองที่มีต่อการใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิภาณี อุชุปัจ. (2561). ความรู้ พฤติกรรมในการจัดการขยะของประชาชน และคุณภาพการบริการในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศราวุฒิ ทับผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สกุณา คงจันทร์ พระวุฒิชัย มหาสทฺโท (เสียงใหญ่) เทิดศักดิ์ ดวงปันสิงห์ แทนรัฐ สุจารี และภักดี โพธิ์สิงห์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนอย่างครบวงจร. วารสารปัญญา. 28 (2), 137-153.
สมชาย เพชรอำไพ และสุทรรศน์ สิทธิศักดิ์. (2563). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 16 (2), 57 – 67.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ (2559). วิกฤติ “ขยะมูลฝอย” ล้นเมือง (ไหน). Retrieved on November 20, 2022 from: https://ebook.nic.go.th/Garbage/Garbage.pdf
สิทธิโชค เดชภิบาล. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน: ศึกษาเฉพาะชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสวียน เปรมประสิทธิ์ สกิณา อินจินดา และสุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์. (2564). องค์ประกอบของขยะและแนวทางการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์. (2), 1 – 11.
อคิน รพีพัฒน์ (2537). คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th edition. New York: Harper Collins. Publishers.
Launiala, A. (2009) How Much Can a KAP Survey Tell Us about People's Knowledge, Attitude, and Practice? Some Observations from Medical Anthropology Research on Malaria in Pregnancy in Malawi. Anthropology Maternal Journal, 11, 1-13.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Sureeporn Salapsri, Chot Bodeerat

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ