การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ราชัย นามวงค์ษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0008-6005-8630
  • สุรเชต น้อยฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-8210-7148

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.190

คำสำคัญ:

การพัฒนาโปรแกรม; , โปรแกรมเสริมสร้าง; , ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมมีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้บุคคลที่เป็นผู้นำสามารถตัดสินใจและมีแนวทางในการปฏิบัติ โดยคำนึงถึงคุณค่าทางจริยธรรมอันดีงาม ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ จึงเป็นบุคคลที่มักจะทำสิ่งที่ถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ไว้ใจได้ว่าเป็นบุคคลที่มีเกียรติและเป็นคนดี การเป็นแบบอย่างของผู้นำเชิงจริยธรรมจึงส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติทางจริยธรรมในองค์การได้อย่างจริงจัง ทำให้เป็นที่เคารพและได้รับความไว้วางใจความเชื่อมั่นในการบริหารงาน การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 346 คน ได้มาโดยการการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศจากครู และผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 6 คน สร้างโปรแกรม ประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ความเคารพ จิตสาธารณะ ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต (2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประกอบด้วย 1) หลักการและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล มี 6 โมดูล ประกอบด้วย โมดูล 1 ความยุติธรรม โมดูล 2 ความซื่อสัตย์สุจริต โมดูล 3 ความรับผิดชอบ โมดูล 4 จิตสาธารณะ โมดูล 5 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ โมดูล 6 ความเคารพ ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลชนก ราชสง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กัญญาภัค ไข่เพชรและ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 51-64.

กันยมาส ชูจีน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: โมเดลสมการโครงสร้าง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตแขนงวิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 19 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 72-74.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ชุติมา รักษ์บางแหลม, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ชวลิต เกิดทิพย์ และชิดชนก เชิงเชาวน์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม: หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(1),168-180.

ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 213ง ลงวันที่ 9 กันยายน 2564

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. (2547, 23 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79 ก. หน้า 22-74.

ภาณุวัฒน์ บุญธัญกิจ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานครตามทัศนะของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2565). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ปีการศึกษา 2565 [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). รายงานประจำปีเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: ประชุมช่าง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). การจัดทำประมวลจริยธรรมและข้อกำหนดจริยธรรม. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การวิจัยและพัฒนารูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวิรัยในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). พัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันการศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนันธิตา เอียดบัวขวัญ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 5 จังหวัดชายแดน ภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรบนพื้นฐาน 70: 20: 10 Learning Model. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Sims, R.R., & Brinkmann, J. (2002). Leaders as Moral Role Models: The Case of John Gutfreund at Salomon Brothers. Journal of Business Ethics, 35(4), 327-339.

Treviño, L.K., & et al., (2003). A Qualitative Investigation of Perceived Executive Ethical Leadership: Perceptions from Inside and Outside the Executive Suite. Human Relations, 56(1), 5-37.

Moore, B.D., (2022). What is ethical leadership? principles & examples. Great work life. Retrieved on May 9, 2022, from https://www.greatworklife.com/ what-is-ethical-leadership-decision-framework/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-02

How to Cite

นามวงค์ษา ร. ., & น้อยฤทธิ์ ส. . (2023). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(4), 271–290. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.190