ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภัทรวงษ์ วัจนะรัตน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย https://orcid.org/0009-0004-6548-8091
  • ศิริพงษ์ เศาภายน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย https://orcid.org/0009-0000-4323-0816

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.179

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำตามสถานการณ์; , ผู้บริหารสถานศึกษา; , โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

บทคัดย่อ

การบริหารสถานศึกษานั้น ผู้บริหารสถานศึกษาถือเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ในการคิดค้นหาแนวทางวิธีการบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาองค์การเพื่อให้ประสบความสำเร็จ จะต้องเป็นผู้กำหนด วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ อีกทั้งจะต้องมีการใช้กลยุทธต่างๆเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม ระดับการศึกษา อายุ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัย จำนวน 291 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ โคเฮน (Cohen) กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 27 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item – Objective Congruence: IOC) มี ค่าอยู่ที่ 0.80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.24 - 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.921 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (frequency) และค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test for Independent Samples) การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ให้ทำการเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s posthoc comparisons method) ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำแบบขายความคิด ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ด้านภาวะผู้นำแบบมอบหมายงาน และด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า (2.1) อาจารย์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (2.2) อาจารย์ที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.3) อาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

ซอฟี ราเซะ. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอทุ่งยางแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ดาราวดี บรรจงช่วย. (2560). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ตระกูลพันธ์ ยุชมพู, โสภา อํานวยรัตน์, สันติ บูรณะชาติ และน้ำฝน กนมา. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 20 (2), 183-196.

ธนากร แก่นเกษ. (2560). ภาวะผู้นําเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาใน จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธร สุนทรายุทธ. (2556). พฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์กร: จริตและจริยกรรมของคนองค์กรภาครัฐและ เอกชน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

ธัญพร ตันหยง, สุรีย์มาศ สุขกสิ, อัมพวัน ประเสริฐภักดิ์. (2561).การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12 (1), 125-131.

บัญชา บุญบํารุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงสถานการณ์กับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรวรรณ ดวงเทศ. (2565). การศึกษาภาวะผู้นําตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตริมกก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สันติ สุขสัตย์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). โรงเรียนสาธิต ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 จำแนกตาม (จำนวนทั้งหมด). Retrieved on 15 August 2022 from https://info.mhesi.go.th/stat_satit.php?search_year=2565&download=7098&file_id=202211141349.xls

อิบตีซาม เจะหะ. (2564). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research Methods in Education. 7th ed. London: Routledge.

Hersey, P., Blanchard, K. H., & Johnson, D. E. (1996). Management of organizational behavior. London: Prentice-Hall International.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite

วัจนะรัตน์ ภ., & เศาภายน ศ. . (2023). ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(4), 97–110. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.179