ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • นฤมล พุฒิฤทธิ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://orcid.org/0009-0002-4682-1501
  • ทรงยศ แก้วมงคล คณะคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://orcid.org/0009-0000-5505-6931
  • อุทัยวรรณ สายพัฒนะ คณะคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://orcid.org/0009-0009-7609-1010

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.167

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น; , การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

แนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาเพื่อกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาไปยังท้องถิ่นและให้ชุมชน มีบทบาทและส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาโดยมุ่งหวังให้การกระจายอำนาจการบริหาร จัดการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิผลประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการจําเป็นในการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 37 คน ครู จำนวน 203 รวมทั้งสิ้น 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิคการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลแบบการตอบสนองคู่ ด้วยค่า Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพที่เป็นอยู่ในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (2) สภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ความต้องการจำเป็น ของการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ในภาพรวม มีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล และด้านหลักการมีส่วนร่วม มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง ด้านหลักการบริหารตนเอง และด้านหลักการกระจายอำนาจ มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง และด้านหลักการคืนอำนาจ มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับต่ำ ตามลำดับของระดับความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2

References

เทพบดินทร์ คะสา ณรงค์ พิมสาร และสิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต. (2563).รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1,2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5 (1),26-39.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พุทธศักราช 2560). Retrieved on October 19, 2020: http://opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/general/ 123 (2).pdf

กิตติวัฒน์ ธนพัฒน์โยธิน. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชญานี ภัทรวารินทร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนเอกชน.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.10 (2),188-201.

ธีระ รุญเจริญ และคณะ. (2545). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ปฏิญญา ศรีสุขและสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563).แนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.7 (7),170-183.

ศักดิ์จิต มาศจิตต์. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 11. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2. (2564). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2. Retrieved on October 19, 2021, https://www.chan2.go.th/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2559 (IMD 2016). Retrieved on October 19, 2020, from: http://www.onec.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียน. Retrieved on October 19, 2020 http://www.ops.moe.go.th/ops2017.

อัญชนา ภาษิต. (2558). รูปแบบการบริหารภายใต้กรอบโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกรุงเทพมหานคร (SMART school) โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักการบริหารแบบฐานโรงเรียน. กรุงเทพฯ : พระรามสี่การพิมพ์

Pushpanadham, K., & Khirwadkar, A., (2003). Professional Leadership for School-Based Management: Indian Context Where do we stand? The Third International Forum on Education Reform: School-Based Management. Office of the Education Council, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-07

How to Cite

พุฒิฤทธิ์ น. ., แก้วมงคล ท. ., & สายพัฒนะ อ. (2023). ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 853–866. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.167