การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • เหมือนแพร รัตนศิริ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0002-0679-8044
  • ภูชิษย์ สว่างสุข ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0003-8432-4765
  • พรดารา เขตต์ทองคำ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0005-4281-1826
  • จันทนี ธีรเวชเจริญชัย ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0002-5876-4444
  • ทอแสง หงษ์คำ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0006-4933-8258
  • ณธษา พันธ์บัวุ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0005-9532-2567

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.157

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร; , คหกรรมศาสตร์; , มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 47 ให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับทั้งภายในและภายนอก และมาตรา 48 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อคุณภาพหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) (2) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ และ (3) ประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนต่อการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 3 กลุ่ม คือ บัณฑิตสาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ จำนวน 52 คน ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 26 คน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและผู้สอนจำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร (2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต และ (3) ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนต่อคุณภาพหลักสูตร จากแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณภาพหลักสูตรภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (2) ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีเพียงด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับมากที่สุด นอกนั้นอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านทักษะทางปัญญา (3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตรภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีเพียงด้านกระบวนการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด นอกนั้นอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดและอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education, TQF: HEd. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2545). วิถีคหกรรมศาสตร์ในประเทศไทย : บทสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์ จากปัจจุบันสู่อนาคต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิอร ดาวเจริญพร. (2565). คหกรรมศาสตรศึกษาและการสร้างสมรรถนะผู้เรียนในอนาคต. Journal of Modern Learning Development. 7(7), 386-402.

บุรินทร์ ศิริเนตร์ รฐา จันทวารา พรพิมล ศรีธเรศ สถาพร ยังประยูร. (2563). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทางด้านงานโรงแรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 11(1), 287-303.

ปาริฉัตร ปิติสุทธิ และ สุปราณี มูลมาตย์. (2565). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะวิชาชีพครูคหกรรมศาสตร์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย (Journal of Research Methodology: JRM). 35(2), 143-161.

ผ่องใส ถาวรจักร. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตวิทยาลัยราชพฤกษ์ปีการศึกษา 2554, รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ภูชิษย์ สว่างสุข ทอแสง หงษ์คำ,ณธษา พันธ์บัว,เหมือนแพร รัตนศิริ และจันทนี ธีรเวชเจริญชัย. (2555).การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.วารสารคหเศรษฐศาสตร์. 60 (3), 4-17.

มารุต พัฒผล. (2561). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

สมศรี เพชรโชติ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรคหกรรมศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(3), 168-184.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2548). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน : การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือน. กรุงเทพฯ : สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (40), 33-42

สุวิมล อุไกรษา, คุรุวรรณ สิริเกรียงไกร, น้อมพร เสน่ห์ธรรมศิริ และคณะ. (2562). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, Humanities, Social Sciences and arts,12(2), 427-443.

อริสา มีพัฒน์ ชูศักดิ์ เอกเพชร และ สมคิด นาคขวัญ. (2560). การศึกษาการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาตรีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(2), 100-113

Brown, M. & Paolucci, B., (1978). Home Economics: A Definition. The University of Minnesota and Michigan State University, n.p. (Mimeographed).

Nurlaela, L., Astuti, N., Romadhoni, I.F., Puewidiani, N., & Handajani, S. (2019). Students’ Skills In Making Questions, Are They Indicators Of Their Thinking Skills? In 2019.IEEE Eurasia Conference on IOT, Communication, and Engineering (ECICE): pp.100-104. DOI:10.1109/ECICE47484.2019.8942761

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-05

How to Cite

รัตนศิริ เ., สว่างสุข ภ. ., เขตต์ทองคำ พ. ., ธีรเวชเจริญชัย จ., หงษ์คำ ท. ., & พันธ์บัวุ ณ. . (2023). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 697–712. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.157