ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • ภานุมาต พงษ์เส็ง วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา (กรุงเทพฯ) https://orcid.org/0009-0009-7419-9618
  • สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา (กรุงเทพฯ) https://orcid.org/0009-0005-8044-1512

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.172

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล; , การบริหารงานบุคคล; , ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาเป็นภารกิจที่สำคัญในการมุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองพันธกิจของสถานศึกษา โดยดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล นอกจากนั้นบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่กระตุ้น ส่งเสริมให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา และ (4) ปัจจัยด้านการบริหารงานบุคคลที่ร่วมกันทำนายการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้ศึกษากับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 138 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power เวอร์ชั่น 3.1 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .984 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .588) และ (4) ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลในทางบวกต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารงานบุคคล แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 41.00

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการบริหารงานบุคคล. ออนไลน์. Retrieved October 15, 2022: https://personnel.obec.go.th/

กันยาพร โคจรตระกูล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38 (6), 155-179.

กิ่งไผ่ แสงแก่นสาร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9 (S), 31-45.

โกสินทร์ พูลสวัสดิ์ และชนมณี ศิลานุกิจ. (2564). สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนกลุ่ม 1 – 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เค้ก อ่อนพุ่ม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชัยเดช อารีศิริไพศาล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(10), 83-102.

ชุติมาพร เชาวน์ไว. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัฒนกูล สุขสานติ์, จันทรัตน์ ภคมาศ, สมหญิง จันทรุไทย. (2564). การศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายการจัดการศึกษาศรีณรงค์ 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(2), 63-76.

ลิขิต สุขพ่วง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 12(2), 81-96.

วสิษฐ์พล รอบจังหวัด. (2562). บทบาทของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศศิวิมล คนเสงี่ยม. (2563). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. Retrieved October 15, 2022 : https://www.sesao1.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-04

How to Cite

พงษ์เส็ง ภ. ., & เอี่ยมคงสี ส. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 593–610. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.172