การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ นาทองไชย นักศึกษาสาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0000-2794-1191
  • สมาน เอกพิมพ์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0004-2884-8713
  • ภูษิต บุญทองเถิง อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0006-5220-3039

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.116

คำสำคัญ:

รูปแบบ; , การแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์; , คณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะที่สำคัญในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตทั้งการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตามพหุปัญญาที่หลากหลาย ครูจำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบคำถามที่สำคัญ ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถรถในการแก้โจทย์ปัญหาวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 2 คน และ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกประสิทธิ์วิทยา จำนวน 18 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) แบบบันทึกสนทนากลุ่ม (2) รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ (3) แผนการจัดการเรียนรู้ (4) แบบวัดความความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และ (5) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาของกลุ่มนักเรียนพบว่านักเรียนไม่สามารถรู้วิธีการแก้โจทย์ปัญหา สภาพปัญหาของครูพบว่าครูยังยึดตนเองเป็นสำคัญในการจัดการเรียนรู้ และสภาพปัญหาของผู้บริการและศึกษานิเทศก์พบว่าขาดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ขาดการสอนเพื่อให้การคิดวิเคราะห์ และผู้บริหารขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการสอนและการเรียนรู้ (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์มีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (ก) ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ (ข) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ (ค) หลักการของรูปแบบ (ง) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (จ) ขั้นตอนของรูปแบบ (ฉ) ระบบสังคม (ช) หลักการตอบสนอง (ซ) ระบบการสนับสนุน (3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอน ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพ 83.26/81.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และทุกรายการมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และ ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถรถในการแก้โจทย์ปัญหาวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 81.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จ ากัด.

กัญชร มัททวีวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยระบบการตอบสนองในชั้นเรียนผ่านแท็บเล็ตโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2526). เทคโนโลยีทางการศึกษา (หลักการและแนวปฏิบัติ).กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

ทวีศักดิ์ เจริญเตีย (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีปัญญาแห่งความสำเร็จของสเติร์นเบอร์ก. วิทยานิพนพ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยบุรพา.

พาวา พงษ์พันธุ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่องโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา,

โรงเรียนโคกประสิทธิ์วิทยา. (2562). รายงานการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนโคกประสิทธิ์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2,

วิจิตตรา จันทร์ศิริ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา,

ศิรินันทน์ ว่องโชติกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานระดับประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา,

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุนทรีย์ ปาลวัฒน์ชัย. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. ดุษฎีนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา,

Ausubel, D. P. (1963). The psychology of meaningful verbal learning. Grune & Stratton.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Piaget, J. (1960). The child’s conception of the world. Joan and Andrew Tomlinson. Fran, Paterson, N.J.: Little Field, Adams

Piaget, J. (1962). The Origins of Intelligence in Children. New York: Norton Good.

Polya, G., (1975). How to Solve It. New York: Doubleday and Company, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-14

How to Cite

นาทองไชย จ. ., เอกพิมพ์ ส. ., & บุญทองเถิง ภ. . (2023). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 83–96. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.116