แนวทางการการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขaตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.108คำสำคัญ:
การบริหารงานวิขาการ; , โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การบริหารงานวิชาการคือการบริหารจัดการกิจกรรมทุกชนิดทุกประเภทที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการบริหารสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการจัดเรียนการสอนเพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่นเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ไปเลี้ยงหัวใจ การบริหารจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของงานวิชาการที่สามารถทำให้งานวิชาการเกิดพลวัตรอยู่ตลอดเวลาส่งผลต่อประสิทธิภาพประสิทธิผลและคุณภาพของการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 และ (2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 การวิจัยกำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ได้ข้อสรุป 4 แนวทาง คือ (2.1) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรมีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ทรัพยากรร่วมกันและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (2.2) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาอย่างน้อยปีละครั้ง (2.3) ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ร่วมกันระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กควรส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ร่วมกัน และ (2.4) ด้านการนิเทศการศึกษา ควรส่งเสริมให้มีการประชุมปรึกษาหารือถึงการวางแนวทางในการนิเทศการศึกษาร่วมกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.
กันตา พรานป่า. (2556). การพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์การบริหารจัดการการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จันทร์จิรา จูมพลหล้า และคณะ. (2557). รูปแบบความสำเร็จการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์. (2549). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประเมินแบบเสริมพลัง. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปิยพันธ์ ศิริรักษ์ และคณะ. (2563). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 314-325.
วิชัย ลาธิ และ สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(12), 85-100.
ศุภวรรณ สุธัมมา และคณะ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 153-166.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). พัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. Retrieved on January 12, 2023, from: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index
อาคม ยุพานิชย์ และ สุรางคนา มัณยานนท์ (2565). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 137-150.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ศุภกร สายธิปไชย, Kritkanok Duangchatom, Chayakan Ruangsuwan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ