ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นผลการดำเนินงานกับมูลค่ากิจการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.62คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์; , โครงสร้างผู้ถือหุ้น; , ผลการดำเนินงาน; , มูลค่ากิจการ; , บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์; , กลุ่ม SET100บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีนักลงทุนหันมาให้ความสนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นอย่างมาก เพราะมีผลตอบแทนมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่ก็มีความเสี่ยงในการลงทุนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีมาก แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563 มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 ของนักลงทุนรายย่อยกลับปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้น การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างผู้ถือหุ้น ผลการดำเนินงานกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาฐานข้อมูลการบริการระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ออนไลน์ (SET SMART) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างรอบระยะบัญชี ปี พ.ศ. 2562 - 2564 ซึ่งอยู่ในรายงานข้อมูลประจำปี 56-1, และรายงานประจำปีของบริษัท, รวมทั้งเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวน 198 ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบกระจายตัว (DOS) และความเสี่ยงทางการเงิน (LEV) มีความสัมพันธ์ทางลบต่อมูลค่ากิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA), อัตรากำไรสุทธิ (NPM), และอัตรากำไรต่อหุ้น (EPS) มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อมูลค่ากิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อมูลค่ากิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10
References
กรัณฑรัตน์ บุญญวัฒน์ และศักดา มาณวพัฒน์. (2554). โครงสร้างการถือหุ้นและคุณภาพทางการเงิน. วารสารนักบริหาร, 31(2), 152-158.
กฤษณะ พึ่งนุสนธิ์. (2562). มูลค่ากิจการ การกำกับดูแลกิจการ และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัสมา กาซ้อน. (2559). การเงินและวิเคราะห์งบการเงิน. เชียงราย: สำนักพิมพ์สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จินตนา วสุนธรากุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนการถือครองหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI). วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
จิราภรณ์ ชูพูล. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชาการเงิน: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จิราภรณ์ ชูพูล. (2564). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(1), 39-48.
ฐิติพร โตรอด. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้น กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). ดัชนีราคา SET100 Index. Retrieved on December 29, 2022 from: https://www.set.or.th/th/market/index/set100/profile
ทิพญา บุตรกะวี และภัทรพร พงศาปรมัตถ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างรางวัลรายงานความยั่งยืนกับมูลค่ากิจการ. รายงานนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564, 322-334.
ธรรมนิติ. (2563). สรุปอัตราส่วนทางการเงิน. Retrieved on November 11, 2022. From: https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3934:table-ratio-finance&catid=29&Itemid=180&lang=en
นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร. (2555). ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น คณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบที่มีต่อการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปทุมวดี โบงูเหลือม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่ากิจการของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7(13), 25-43.
ประภัสสร โปร่งวิทยากร. (2559). บทบาทของคณะกรรมการและโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีต่อผลประกอบการเชิงการเงินของบริษัท : การศึกษาเชิงประจักษ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปวีณา แซ่จู และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 15-30.
พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2561). ผลการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
แพรวพรรณ ตันวงศ์เลิศ. (2564). ผลกระทบของผลการดำเนินงานต่อมูลค่ากิจการของบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในช่วง COVID-19. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาวิณี เดชศิริ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา บริษัทในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมหมวดธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, (ฉบับพิเศษ ครบรอบ 15 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์), 372-384.
มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2548). การประเมินผลปฏิบัติงานตามแนวคิดTobin-Tobin’s Q. วารสารบริหารธุรกิจ, 28(3), 13-22.
ศิรินทร์รัตน์ สินพรหมมา. (2562). ความสัมพันธ์การถือหุ้นของผู้บริหารที่มีผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพร เอี่ยมโอภาส. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยกับความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าขององค์กรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2564). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีผลต่อราคาหุ้นและผลการดำเนินงาน: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 17(56), 57-74.
อนุวัฒน์ ภักดี. (2564). ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหาร และคุณภาพการสอบบัญชีต่อการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี : หลักฐานจากประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 17(55), 5-34.
อุบลวรรณ ขุนทอง และโสวัตรธนา ธารา. (2560). ความสัมพันธ์ของโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบกระจุกตัวของกลุ่มครอบครัวกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์, 240-253.
Abdul Adamu and Joel Haruna. (2020) Ownership structures and firm performance in Nigeria: A canonical correlation analysis. Journal of Research in Emerging Markets, 25-30.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education International.
Landsman, W.R. & Shapiro, A.C. (1995). Tobin’s Q and the Relation between Accounting ROI and Economic Return”, Journal of Accounting, Auditing and Finance, 10(1), 103-118.
Stevens, J. P. (1992). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences. NJ: Lawrence Erlbaum Associates. Hillsdale.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พีระพล ศรีวิชัย, ปานฉัตร อาการักษ์, อรวรรณ เชื้อเมืองพาน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ