หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนามนุษย์ช่วงปัจฉิมวัย
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.70คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ; , ปัจฉิมวัย; , พุทธธรรม;, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
ปัจฉิมวัยหรือวัยชรา นับตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป วัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย สมอง อารมณ์และสังคม จึงเป็นวัยที่คนส่วนมากกลัว ดังนั้นการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตในวัยนี้ จะช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นและมีความสุข ดังนั้นวัตถุประสงค์ของบทความเรื่องนี้ เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้พัฒนามนุษย์ช่วงปัจฉิมวัย นำเสนอหลักธรรมในการสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังนำพาชีวิตสุขสันต์ด้วยตัวของผู้สูงอายุเป็นหลัก ระเบียบวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารแล้วนำข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า หลักพุทธธรรมสำหรับพัฒนาผู้สูงวัยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วงวัย คือ (1) ปัพภารทสกะ (วัยร่วงโรย) สามารถประยุกใช้หลักพุทธธรรม เช่น หลักเถรธรรม ว่าด้วยการปฏิบัติตนของผู้อาวุโสที่น่าเคารพ ด้วยการรักษาศีล เจริญภาวนา (2) วังกทสกะ (วัยหลังโก่ง) หลักธรรมสำหรับคนวัยนี้ที่พึงปฏิบัติ เช่น หลักอริยทรัพย์ 7 ประการ ว่าด้วยวิธีการลงมือกระทำความดีด้วยตนเองเพื่อสะสมทรัพย์อันประเสริฐที่จะนำไปสู่ความสุขที่ยั่งยืน (3) โมมูหทสกะ (วัยหลงลืม) มีความเครียดเป็นสาเหตุให้เกิดความจำเสื่อม หลักธรรมสำหรับวัยนี้ เช่น สติสัมปชัญญะ ฝึกปฏิบัติโดยการออกกำลังกายแบบโยคะ เดินจงกรมอย่างมีสติ ทำสมาธิ และ (4) สยนทสกะ (วัยนอนอยู่กับที่) ในผู้สูงวัยที่ยังมีสติ รู้ตัว สามารถน้อมนำหลักไตรลักษณ์ ว่าด้วยการพิจารณาร่างกายย่อมตกอยู่ภายใต้ความไม่เที่ยง ทนอยู่ได้ยาก และมิใช่ตัวตน เพื่อปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. Retrieved on February 26, 2023, from: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159.
คณะกรรมการแผนกตำรา มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2548). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 3 ตอน 2 ตอนจบ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.
คณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือแนวทางการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง. นครปฐม: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระพุทธโฆสาจารย์. (2547). คัมภีร์วิสุทธิมรรค (แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศรีประภา ชัยสินธพ. (2529). สภาพจิตใจของผู้สูงอายุ. Retrieved on February 26, 2023, from: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/07172014-1131.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2553). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Fries, J.F., (1980). Aging, natural death, and the compression of morbidity. New England Journal of Medicine. 303(3), 130–135.
Fries, J.F., (1989). The compression of morbidity: near or far? Milbank Quarterly. 67(2), 208–232
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สุดารัตน์ วงค์คำ, ประครอง งามชัยภูมิ, อนันตชัย ขันโพธิ์น้อย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ