ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของเกษตรกรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.100คำสำคัญ:
ปัญหาและอุปสรรค; , การจัดทำบัญชี; , เกษตรกรบทคัดย่อ
การทำธุรกิจจำเป็นต้องมีการรับเงิน จ่ายเงิน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อเป็นเครื่องมือดูแลการเงินและพัฒนาธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการเกษตรที่เป็นอาชีพหลักในหลายประเทศ ที่จำเป็นต้องบันทึกการรับ-จ่ายเงินในการเกษตรเพื่อที่จะนำมาใช้ในการวางแผนการลดต้นทุนและสร้างรายได้และยั่งยืนต่อไป ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของเกษตรกรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของเกษตรกรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำบัญชีแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เกษตรกรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 217,620 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test (ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรอัตลักษณ์พื้นถิ่น มีปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีโดยรวม ด้านความรู้ความสามารถ ด้านเอกสารและวิธีการทางบัญชี ด้านความร่วมมือและประสานงาน และด้านเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก (2) เกษตรพื้นถิ่นในจังหวัดมหาสารคามที่มีอายุแตกต่างกัน มีปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านเอกสารและวิธีการทางบัญชี ด้านความร่วมมือและประสานงาน และด้านเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) เกษตรพื้นถิ่นในจังหวัดมหาสารคามที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านเอกสารและวิธีการทางบัญชี ด้านความร่วมมือและประสานงาน และด้านเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และ (4) เกษตรพื้นถิ่นในจังหวัดมหาสารคามที่มีประสบการณ์ทำบัญชีแตกต่างกัน มีปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ และด้านความร่วมมือและประสานงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ขวัญชนก ห่านนิมิตกุลชัย. (2556). แนวปฏิบัติและปัญหาในการจัดทำบัญชีของผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสกลนคร. งานวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียติจังหวัดสกลนคร.
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์. (2564). ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยจากโรคติดต่อเชื้อโคโรนา ไวรัส (COVID-19)และข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ชาติตามสถานการณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
จันทนา พงศ์สิทธิกาญจนา (2558). แนวทางการจัดการที่มีคุณภาพ ของวิสาหกิจชุมชน เพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์ด้านการอยู่ดีมีสุข ใน จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal,Slipakorn University. 8 (2), 2039-2053.
ชลกมก โฆษิตคณิน และคณะ. (2560). ปัญหาและอุปสรรคและแนวทางพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐม, วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3), 2138-2151.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปิยฉัตร ทองแพง. (2562). แนวทางการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทิม จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ. 13(1), 108 – 118.
สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2566-2570. มหาสารคาม : สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2564). ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน. Retrieved on June 9, 2021 from: http://www.sceb.doae.go.th/myweb_Sceb40/data/manual_smce.pdf,
อลีณา เรืองบุญญา. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างของผู้ทำบัญชีสถานบริการภาครัฐ ในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ไฮดา สุดินปรีดา. (2561). ปัญหาและอุปสรรคของผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. 1735-1745.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 อมร โททำ, นาวา มาสวนจิก, ปิยะวรรณ ยางคำ, ธีระศักดิ์ เกียงขวา, กชนิภา วานิชกิตติกูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ