การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.61คำสำคัญ:
ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ; , การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ; , แบบฝึกทักษะบทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการสอนทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษที่ส่งผลให้นักเรียนมีความเข้าใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สามารถช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะปรับปรุง การสอนภาษาอังกฤษของครู โดยเฉพาะทักษะการอ่านภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับระดับความสามารถทางภาษาของนักเรียนอันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองแสงอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 จำนวน 16 คน ผลการศึกษา พบว่า (1) การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.60/76.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54
References
กฤษณพงษ์ บัวประเสริฐ และจิดาภา ยิ้มฤทธิ์. (2552). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษเรื่อง Visiting Phitsanulok สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร,
จิตตินุวัฒน์ ดรหมั่น. (2556). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการอ่านและความคงทนของคําศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ตันสุทธาการพิมพ์,
ธนวรรณ เทียนเจษฎา. (2548). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมกลุ่มจิกซอว์กับการจัดกิจกรรมตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
เผชิญ กิจการ. (2544). การหาค่าดัชนีประสิทธิผล. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.วัฒนาพร ระงับทุกข์
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟ. แอนด์เลิฟเพรส.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สุภัทรา อักษรนุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2551). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย
อัจฉรียา หนองห้าง. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม,
Allen, E.D. & Valette, R.M. (1979). Classroom Techniques : Foreign Language and. English as a Second Language. New York : Harcount, Brace Jovanovich.
Martin Ebbertz. (2002). Language on the Internet. Retrieved from: http://www.netz-tipp.de/sprachen.html.
Rivers, (1972). Salmon Scale Reading Investigation. Retrieved from: https://aquadocs.org/handle/1834/27169
Tudor, I. (1996). Learner-Centredness as Language Education. Cambridge Cambridge University Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ณัฐนิกา ปะวันทะกัง, ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์, ภูษิต บุญทองเถิง

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ