การส่งเสริมมารยามไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติร่วมกับวิดีโอสตรีมมิ่ง : โรงเรียนบ้านหัวนา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล นนทสิงห์ คณะครุศาสตร์มหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-8939-6542
  • วณิชา สาคร คณะครุศาสตร์มหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0007-4717-1957
  • ทรงศักดิ์ สองสนิท คณะครุศาสตร์มหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0000-2041-3396

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.54

คำสำคัญ:

มารยาทไทย; , บทบาทสมมุติ; , วิดีโอสตรีมมิ่ง

บทคัดย่อ

มารยาทไทยเป็นวัฒนธรรมทางสังคมที่ทุกคนจะต้องยึดเป็นหลักประพฤติปฏิบัติเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ มารยาทเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เป็นมรดกทางวัฒนธรรม มารยาทไทยเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามและแสดงความเป็นระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม  อย่างไรก็ตามการเรียนรู้โดยการใช้บทบาทสมมุติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์จำลองซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงและแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมมารยามไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติร่วมกับวิดีโอสตรีมมิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวนา กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านหัวนา จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 22 คน ซึ่งคัดมาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง วัฒนธรรมในสังคมไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวนา 2) แบบบันทึกอนุทิน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมมารยาทไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการส่งเสริมมารยาทไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติ ร่วมกับวิดีโอสตรีมมิ่งนั้นประกอบด้วย 7 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นนำเสนอสถานการณ์สมมุติ 2) ขั้นเลือกผู้แสดงบทบาท 3) ขั้นเตรียมสังเกตการณ์ 4) ขั้นแสดงบทบาทสมมุติ 5) ขั้นอภิปราย 6) ขั้นสรุปการ และ7) ขั้นประเมินผล และ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยรวมระดับพฤติกรรมมารยาทการเดิน การยืน การนั่ง การนอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.06 ระดับคุณภาพพอใช้ (2) ผลการวิเคราะห์แบบสังเกตพฤติกรรมมารยาทไทย โดยรวมระดับพฤติกรรมมารยาทการรับและส่งของ การรับประทานอาหาร การแสดงความเคารพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.44 ระดับคุณภาพพอใช้ (3) ผลการวิเคราะห์แบบสังเกตพฤติกรรมมารยาทไทย โดยรวมระดับพฤติกรรมมารยาทการทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.97 ระดับคุณภาพดี

References

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน . องค์ความรู้ เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญส่ง นิลแก้ว (2541). วิจัยทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิมพ์ชนก ฟุ้งสิริรัตน์. (2563). การตัดสินใจตลาดสตรีมมิ่งวิดีโอสตรีมมิ่งการวิเคราะห์คอนจอยท์. the 3rd BAs National Conference 2021 "Business Transformation: Social Challenges”.

รวินันท์ ฤทัยปิติเสรีวงศ. (2558). การปลูกฝังมารยาทไทยด้วยการปฏิบัติจริงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม. Bangkok: Assumption College Primary Section

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง และ รัชนี วนาพิทักษ์วงศ์ (2558). การพัฒนามารยาทไทย ด้านการยิ้ม และการไหว้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสะเดา “ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์”. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1185-1195.

ศราวุธ ทองศรีคำ.(2561). รสนิยมของผู้ชมสตรีมมิ่ง. วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.18 (2),75-94.

อรนุช พวงทอง. (2560). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชุดมารยาทไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 . ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

อิงอร รอดน้อย. (2551). พฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยทีÉพึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัด กิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2008). Dictionary of Buddhist. 12th edition. Bangkok: Mahachulalongkorn University.

Phradhammapidok (P.A. Payutto). (1999). BuddhaDhamma. 8th edition. Bangkok: MCU Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-03

How to Cite

นนทสิงห์ ณ. ., สาคร ว. ., & สองสนิท ท. . (2023). การส่งเสริมมารยามไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติร่วมกับวิดีโอสตรีมมิ่ง : โรงเรียนบ้านหัวนา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(2), 47–58. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.54

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ