ระบบการสอนแบบบูรณกิจศึกษาตามหลักไตรสิกขาของศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ซีพีแรม
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.63คำสำคัญ:
ระบบการสอนแบบูรณกิจศึกษา; , หลักไตรสิกขา; , ศูนย์การเรียน;, ปัญญาภิวัฒน์; , ซีพีแรมบทคัดย่อ
ไตรสิกขาเป็นที่รวมของสิกขาบทนั้นเอง ตามหลักพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงรูปแบบวิธีการพัฒนาไว้ว่าความประพฤติสุจริตแสดงออกมาทางกายวาจาและใจเป็นเรื่องของการฝึกฝนด้านพฤติกรรมโดยเฉพาะศีลถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในขบวนการพัฒนามนุษย์ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปในการเรียนการสอนแบบระบบการสอนแบบบูรณกิจศึกษาตามหลักไตรสิกขาสำหรับศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบการสอนแบบบูรณกิจศึกษาตามหลักไตรสิกขาสำหรับศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม และ 3) เสนอระบบการสอนแบบบูรณกิจศึกษาตามหลักไตรสิกขาสำหรับศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม ผู้วิจัยได้ใช้แผนการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ครูและนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มเฉพาะ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามขั้นตอน โดยใช้แผนการสอนและแบบทดสอบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 คน สุ่มโดยวิธีการแบบเจาะจง พบว่า (1) สภาพทั่วไปในการเรียนการสอนแบบระบบการสอนแบบบูรณกิจศึกษาตามหลักไตรสิกขาสำหรับศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม พบว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามของศูนย์การเรียนรู้ปัญญาภิวัฒน์-ซีพีแรม รวมจำนวน 132 คน พบว่า การจัดการเรียนการสอนมุ่งอาชีพ รวมทั้งตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นที่จะก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาและเติบโตควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่า สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชน และการดูแลสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างยั่งยืน จำนวน 132 คน (100 เปอร์เชนต์) และรองลงมาคือ มุ่งเป้าหมายการพัฒนาสู่ความยั่งยืน จำนวน 121 คน (91.66 เปอร์เชนต์) (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบการสอนแบบบูรณกิจศึกษาตามหลักไตรสิกขาสำหรับศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม พบว่า ปัจจัยที่ถูกต้องดีงาม ที่ให้มนุษย์รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้า ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยดี (ก) สร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นก่อนได้แก่ (ก1) ปัจจัยภายนอกที่ดี (ปรโตโฆสะ) คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมทางลังคมที่ดี มีความเป็นกัลยาณมิตร (ก2) ฝึกการคิดอย่าง ถูกวิธี (โยนิโสมนสิการ) (ข) ศีล เป็นเรื่องของการฝึกศึกษาด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุและทางสังคม (3) นำเสนอระบบการสอนแบบบูรณกิจศึกษาตามหลักไตรสิกขาสำหรับศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม พบว่า ฝึกปฏิบัติเริ่มตั้งแต่การสำรวมกาย วาจา และฝึกจิตให้ตั้งมั่น ศีล สมาธิ ปัญญา ประกอบด้วย (ก) อิสรภาพภายใน ปรโตโฆษะ โยนิโสมนัสิกา (ข) อิสรภาพภายนอก อิสรภาพเกิดจากความรู้อนิจจัง (ค) อัตลักษณ์ ระดับอัตลักษณ์ส่วนบุคคล และอัตลักษณ์ทางสังคม (ง) สัมมาทิฏฐิเป็นแกน ศีล สมาธิ ปัญญา (จ) พัฒนาองค์ความรู้ (ฉ) ภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ชุมชน
References
ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7 (1), 242-249.
พระธรรมปกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2539).พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม. พิมพครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล,(2558). สร้างสันติด้วยมือเรา.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิษณุ พรหมวาทย์ (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
มนัส ศรีเพ็ญ.(2565). การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย. Retrieved on December 10, 2022 from http://www.sammajivasil.net/news45.htm
มยุรี สายรัตน์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. Retrieved on December 10, 2022 from: http://kruarinthon.blogspot.com
ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ซีพีแรม. (2565). ข้อมูลบุคลากร. กรุงเทพฯ: ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543). ความเป็นเลิศทางการศึกษา : แนวนโยบายแห่งรัฐของสหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 เดโช ปลื้มใจ, สมชัย ศรีนอก, สายรุ้ง บุปผาพันธ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ