แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนสังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.122

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน;, ครูผู้สอน; , อาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคนเป็นแรงขับหรือแรงผลักดันให้บุคลากรมีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการทำงาน ทุ่มเทเสียสละและทำงานอย่างเต็มใจ และเต็มความสามารถ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน และ (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และประเภทสถานศึกษา การศึกษาในครั้งนี้ศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของคูผู้สอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test แบบ independent ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด อย่างไรก็ตามในด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (4) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน จำแนกตามประเภทสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน

References

เชษินีร์ แสวงสุข. (2560). ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ปริญญานิพนธ์ สาขาการอุดมศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรองกาญจน์ ทองสุข. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรในวิทยาลัยการอาชีพ ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระปริญญาการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ขจรศักดิ์ ธรรมธัชกุล. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา. สังกัดเทศบาลในกลุ่มการศึกษา.

จุรี วรรณาเจริญกุล. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ชัญญาภัค ดิเรกชนสิน. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นทร์.

รัชนาภรณ์ ส่งเสริม. (2557). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

วรางคณา ผลเงาะ. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ฯ.

สนธยา บุตรวาระ. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้น ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

อรพินทร์ ชูชม. (2555). แรงจูงใจในการทำงาน : ทฤษฎีและการประยุกต์. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 2(2), 52-61.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B., (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-17

How to Cite

พัฒนโชติ บ. (2023). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนสังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 169–280. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.122