ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.139คำสำคัญ:
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน; , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 2 ; , ปัญหาการดำเนินงานบทคัดย่อ
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักและมีกระบวนการขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะป้องกัน แก้ไขปัญหารวมทั้งการส่งเสริมพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง กระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน การวิจัยเรื่อง ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปรึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามเพศ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่า ด้านการส่งต่อนักเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยครูที่ปรึกษา เพศหญิง จะมีปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มากกว่าครูที่ปรึกษาเพศชาย (3) ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (4) ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
References
กนกธร วงษ์จันทร์. (2552). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมท่าแคลง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6).กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดารารัตน์ สุนทรมณีรัตน์. (2556). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 – 5. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 8 (24), 45-54.
ผ่องพรรณ สายทอง. (2545). การดำเนินงานปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงการสุขภาพจิตสู่สถานศึกษาของโรงเรียนนำร่อง สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าตนเอง (การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยานเรศวร.
พยุง ปะกำแหง. (2555). ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สมพงษ์ มะนอ. (2554). ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. (2565). ระบบฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. ข้อมูลสารสนเทศ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุนิสา มาสุข. (2560). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา
Yamane. T., (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 อนุพันธ์ รัตนวัน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ