การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาจังหวัดนครราชสีมาในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.85

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา ; , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ;, สถานการณ์การระบาด

บทคัดย่อ

การบริหารงานใสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) จำต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ เพื่อให้สถานศึกษาดำเนินการจัดการเรียนการสอนในห้วงเวลาที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) จำแนกตามเพศ สถานะ และอายุ ประชากรที่วิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และครู ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 139,637 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับปฏิบัติต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า (ก) จำแนกตาม เพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (ข) จำแนกตาม สถานะ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (ค) จำแนกตาม อายุ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19). กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID - 19 ระดับมัธยมศึกษา พื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารสู่ชีวิตใหม่ ด้านงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ, 12 (8) : 407-416.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ. 4 (3), 783-795.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(3) : 545-556ใ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2563). แนวทางการบริหารจัดการสำหรับโรงเรียนเอกชน เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.

สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง และ สงวน อินทร์รักษ์ (2562). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 934-944.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 156 -169.

Taylor Frederick, W. (1916). The Principles of Scientific Management. New York: Harper.

Yamane, T.. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-13

How to Cite

ขันธทัต ป. . (2023). การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาจังหวัดนครราชสีมาในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(2), 485–498. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.85

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ