ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.83คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ; , ผู้บริหารสถานศึกษา; , กลยุทธ์บทคัดย่อ
ผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทและอิทธิพลต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาที่จะนำสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จ ภาวะผู้นำจึงถือเป็นบทบาทที่สำคัญที่ผู้บริหารพึงมี ผู้บริหารต้องทำหน้าที่ให้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องปรับตัว และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้สมาชิกในองค์การพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และสนองตอบต่อนโยบาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษาและขนาดโรงเรียน ประชากรที่วิจัยในครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 3,111 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก และ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า (ก) จำแนกตาม ตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (ข) จำแนกตาม ระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (ค) จำแนกตาม ขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จันทรวิมล วงศ์แดง และศันสนีย์ จะสุวรรณ์, (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. National & International Conference. 2 (14), 1035-1043. http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/2527
ฏิมากร บุ้นกี้. (2563). บทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ติญากรณ์ สิริวัฒนชยกร. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(39), 12-19.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (2564). คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนในสังกัด. บุรีรัมย์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2.
สุทธิพงษ์ อันทรบุตร. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, 15(1),3-15.
อดิพงษ์ ผะเดียงฉันท์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5),305-321.
Baron, A. (1995). Going public with studies on culture management. Personnel Management, 1(19), 60
Yamane, T., (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row. Publications.
Kalkan, U., (2020). The Relationship Between School Administrators’ Leadership Styles, School Culture, and Organizational Image. SAGE Open, 56(1), DOI: 10.1177/2158244020902081
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 เกษมทรัพย์ บุญชาติ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ