ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ปณิตา วงษ์หาบุศย์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0003-6830-4908

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.84

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษา; , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

บทคัดย่อ

การจัดการศึกษาของสถานศึกษาแล้ว พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน ที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา หลักสูตรและกิจกรรมของสถานศึกษา รวมทั้งสภาพแวดล้อมและการบริการ อย่างไรก็ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมต่อการจัดการศึกษานั้น ผู้ปกครองมองเห็นถึงปัญหาในภาพรวมของสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม หรือความปลอดภัยของผู้เรียนที่ต้องมีการดูแลเป็นสิ่งสำคัญ อาจต้องมีการติดกล้องวงจรปิดมากขึ้น และผู้บริหารต้องตรวจและมองถึงปัญหาให้มากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามเพศ อาชีพ และอายุ ประชากรที่วิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 41,541 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก และ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ พบว่า (ก) จำแนกตาม เพศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านต่างกันในด้านคณะกรรมการสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ข) จำแนกตาม อาชีพ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (ค) จำแนกตาม อายุ โดยรวมด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือปฏิบัติงานกลุ่มส่งเสริมการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.

จารุวรรณ บุญศร. (2563). ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของ โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 1 เทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 6(2), 95 – 103.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงพิทักษ์ กล้าวาจา. (2564). ความคิดเห็นของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย.Journal of Modern Learning Development, 6(3), 135 – 149.

เรวัฒน์ พรหมสะโร. (2563). ผู้บริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ดอกอ้อ.

วรรณษา ท้วมศิริ. (2562). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ในบริบทการจัดการศึกษาของประชาคมอาเซียน. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(3), 150 – 162.

ศุภากร เมฆขยาย. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาวิทยาจารย์: วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู, 2(2), 93 – 106.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2565-2568. บึงกาฬ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-13

How to Cite

วงษ์หาบุศย์ ป. . (2023). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(2), 471–484. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.84

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ