การสร้างแบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.21คำสำคัญ:
แบบสอบวินิจฉัย; , การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์; , ความเข้าใจภาษาในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3บทคัดย่อ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์นั้น เป็นกระบวนการหนึ่งในการเรียนรู้ที่ตัวผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝน และพัฒนาตนเองให้เกิดทักษะนี้ขึ้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ให้รู้จักประยุกต์และปรับเปลี่ยนวิธีการในการแก้ปัญหาตามความเหมาะสม รู้จักการตรวจสอบและยังสะท้อนถึงกระบวนการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามการสร้างแบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ต่างให้ความสำคัญกับขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (2) วิเคราะห์ข้อบกพร่องของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พบในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 296 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นความเข้าใจภาษาในการแก้โจทย์ปัญหา และส่วนที่สองเป็นการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง ความยากง่าย และอำนาจจำแนก ผลการวิจัยพบว่า (1) ความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบวินิจฉัยด้านความเข้าใจภาษาในการแก้โจทย์ปัญหาและด้านการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 (2) ความเที่ยงของแบบสอบวินิจฉัยด้านความเข้าใจภาษาในการแก้โจทย์ปัญหา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 ส่วนด้านการแก้โจทย์ปัญหา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 (3) ค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบวินิจฉัยด้านความเข้าใจภาษาในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.51–0.62 ส่วนค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.62-0.90 ส่วนด้านการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.11-0.66 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21-0.90 และ (4) การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง พบว่าด้านความเข้าใจภาษาในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ นักเรียนกลุ่มเกรด 2 และ 2.5 ตอบผิดมากกว่ากลุ่มเกรดอื่น ๆ โดยตอบผิด 4 ใน 5 ของวิธีการคำนวณ ส่วนด้านการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ นักเรียนกลุ่มเกรด 2 และ 2.5 ตอบผิดในทุกขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ธวชินี มาหล้า. (2561). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการคิดคำนวณและการให้เหตุผลกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ปนัสยา เบื้องบน. (2564). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและจำนวนคละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลประโคนชัย (อำนวยกิจราษฎร์วิทยาคาร). การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4 (น169 – 181). มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
พรเพชร พิศคำ (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยและแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเมทริกซ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24(2), 153-165.
พิชชานันท์ แมคคอร์มิค (2562). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทางการเรียน เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 163-176.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). Retrieved on April 10, 2020, from: https://www.niets.or.th/th.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. (2563). ข้อมูลนักเรียนและสถานศึกษาในเขตพื้นที่บริการ. Retrieved on 27 September 2020 from: http://school.bangkok.go.th
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัสมาอ์ หะยีตาเฮร์. (2560). ผลการสอนโดยใช้วิธีการแบบแดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(1), 182-193.
Carla, L. (2020). Culturally appropriate math problem-solving instruction with English language learners. School Psychology Review, 49(2), 144-160.
Ethan, V. (2019). Cognitive ability and math computation developmental relations with math problem solving an integrated, multigroup approach. School Psychology Review, 34(1), 96-108.
Fengfeng, K. (2020). Game-based multimodal representations and mathematical problem solving. International Journal of Science and Mathematics Education, 18(1), 103-122.
Frankel, J. R. & Wallen, N. E. (1999). How to design and evaluate research in education. (4th .Ed). Boston, MA: McGraw Hill.
Jacobs, L. C. (1991). Test reliability. IU Bloomington Evaluation Services and Testing (BEST), Indiana University Bloomington. Last updated: Tuesday, 14-Dec-2004 11:21:32 Est
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Michael, W. (2021). Improvements in motor competence skills are associated with improvements in executive function and math problem-solving skills in early childhood. Developmental Psychology, 57(9), 1463-1470.
Ozkubat, U. (2021). Investigation of effects of cognitive strategies and metacognitive functions on mathematical problem-solving performance of students with or without learning disabilities. International Electronic Journal of Elementary Education, 13(4), 443-456.
Rahayuningsih, S. (2021). Cognitive flexibility: exploring students’ problem-solving in elementary school mathematics learning. Journal of Research and Advances in Mathematics Education, 6(1), 59-70.
Tambychik, T. & Meerah, S. (2010). Students’ Difficulties in Mathematics Problem-Solving: What do they Say? International Conference on Mathematics Education Research, 8, 142-151.
Vyacheslav, V. U. (2020). Solving math problems through the principles of scientific creativity. EURASIA Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 16(10), 1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ณัฐกาณญ์ สนธิกัน, สุวิมล ติรกานันท์, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ