การมีส่วนร่วมของการบริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.76

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม; , การบริหารสถานศึกษา;, สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงานซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ผูกมัดและตกลงใจร่วมกันในการบริหารสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อพัฒนางานที่ปฏิบัติร่วมกันให้มีคุณภาพสูงสุด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของการบริหารสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามความคิดเห็นของบุคลากร และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการมีส่วนร่วมของการบริหารสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษา ประชากรที่วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 569 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของการบริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของการบริหารสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมอยู่ในระดับ มาก และ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของการบริหารสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า (ก) จำแนกตาม ตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านต่างกันในด้านแผนงานและความร่วมมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ข) จำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และ (ค) จำแนกตาม วุฒิการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านต่างกันในด้านวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กงกาบ อมรรัตน์. (2561). การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.

จิราวัลย์ จันทร์ศิริ พระปลัดโฆษิต โฆสิโต และ ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(2),327-344.

นงคราญ ศุกระมณี. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา สังกดัเทศบาลเมอืงกาญจนบุรี. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . กาญจนบุรี : มหาวทิยาลยัราชภัฏกาญจนบุรี

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มณฑาทิพย์ ศิริสุมทุม และนัทนิชา หาสุนทรี. (2564). ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. National & International Conference. 1(12), 1-12.

วรรณภา ใจเย็น. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. National & International Conference. 2(14), 165.

วิลาวัลย์ สิทธิสมบูรณ์. (2565). อาชีวศึกษาคืออะไร. กรุงเทพฯ : มูลนิธิยุวพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2564). รายงานการดำเนินงานประจำปี 2564. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-09

How to Cite

จันตะมะ ส. . (2023). การมีส่วนร่วมของการบริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(2), 361–372. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.76

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ