การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.64คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ;, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน; , การพัฒนาคุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ กระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้โดยมี ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ และ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน ประชากรที่วิจัย ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 3,291 คนซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 344 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ทั้งภาพรวมและรายด้าน พบว่า (ก) จำแนกตาม เพศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา (ข) จำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายด้านแตกต่างกัน ในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อ และ (ค) จำแนกตาม ขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปฏิภาณ อินทเนตร. (2558). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแก้ปัญหานักเรียนออกกลางคันของโรงเรียนวังเหนือวิทยาที่.สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8 (18) , 34-47.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2565). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนธัญบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9 (3) , 221-239.
ปิยะพร ป้อมเกษตร์. (2564). การวิเคราะห์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 49 (4),124 - 134.
ปุณยวีร์ ชัยสวัสดิ์. (2555). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
มธุรดา ดวงจันทร์. (2553). สภาพและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิลาสินี พนานครทรัพย์. (2561). อัตลักษณ์เยาวชนไทยในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารมหามกุฏวิชาการ. 6 (2), 134 – 142.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. สระแก้ว : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุทัศน์ เอี่ยมแสง. (2558). รายงานผลการดำเนินงาน โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่งูด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5.
อัษฎา พงษ์พัฒน์. (2565). สภาพความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17 (1), 169 – 178.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ชาญวุฒิ นิโรรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ