บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.46

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ; , งานวิชาการ; , การมีส่วนร่วม; , บทบาทหน้าที่

บทคัดย่อ

การบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการบริหารงานของผู้บริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ การบริหารงานวิชาการจึงต้องให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทั้งในด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียน และ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตาม เพศ อายุ และตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการงานวิชากร ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 366 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบภาพรวมรายด้านและรายข้อ จำแนกตามเพศ โดยใช้ t - test (Independent Samples) อายุ และตำแหน่ง โดยใช้ F-test ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า (ก) จำแนกเพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (ข) จำแนกตาม อายุ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (ค) จำแนกตาม ตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

จิรวัฒน์ สิทธิพานิช และ รัตนา กาญจนพันธุ์. (2564). บทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาตามการรับรู้ของครู โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(4),1-16.

จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2555). การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ครีเอทีฟคอมมอนส์.

จุฑามาศ แจ่มมี และวัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2563). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(10), 363-374.

ธนากร นาควรรณ. (2562). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(7), 3263-3284.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปัญจพล ไพรหลวง. (2565). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโสมสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(1),111-126.

ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. 6(2), 90-98.

สุพรรณธิชา เภาศรี, ชูชีพ พุทธประเสริฐ และยงยุทธ ยะบุญธง. (2560). แผนด าเนินงานส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. Viridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2069-2086

อรุณรัศมี พิฆาตไพรี. (2564). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(1),177-189.

Yamane, T., (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York: Harper and Row. Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-21

How to Cite

สัมมา เ. (2023). บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(1), 675–688. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.46