แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.24

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ; , ครู; , สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

แรงจูงใจจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของพฤติกรรมของบุคคลซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจมีความสามารถในการจูงใจให้บุคลากรในองค์การร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มศักยภาพ เกิดความพึงพอใจ เกิดความผูกพันต่อองค์การ การวิจัย เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสถานภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 916 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 274 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ด้านความสำเร็จของงาน และด้านการได้รับการยอมรับ (2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู พบว่า (ก) ครูที่จบการศึกษาต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบและด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน (ข) ครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีในด้านความสำเร็จของงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค) ครูที่มีสถานภาพต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จินตนา อุทยานิก. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5(1),133-146.

พัชรี พันธุ์แตงไทย. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจคณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ภัทรดา จำนงประโคน. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้วสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรวิมล ทองเยียม. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกลุ่มศรีเมืองสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชริศ เจริญกุล. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์. มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนัสนันท์ มีทรัพย์ทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดวิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์.ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

สุนทรี พัชรพันธ์. (2551). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านค้าสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน เขตเมืองและชานเมืองของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (ประชาสัมพันธ์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรสา เพชรนุ้ย. (2560). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อรอุมา จันทนป และสงวน อินทร์รักษ์. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1), 378-390.

Herzberg, Frederick, et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Krejcie, R.v.& Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Jour of education and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.

Pinder, C. (1998). Work Motivation in Organizational Behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Vroom, V. H. (1970). Work and Motivation. New York: John Willey & son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-04

How to Cite

ศรีนางแย้ม ส. (2023). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(1), 353–370. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.24